นางณัฐฐา วินิจนัยภาค ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในช่วงครึ่งปีแรก 2560” จากกลุ่มตัวอย่างผู้มีรายได้ทั่วประเทศ 2,000 ตัวอย่าง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 45.15 มีรายได้เท่ากับรายจ่าย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 26,469 บาท ขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 21,606.75 บาท จึงไม่มีกำลังออมรองรับความต้องการในอนาคต
ทั้งนี้ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.65 มีเงินออมไว้ใช้ในการดำรงชีพ ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.79 ออมสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ สัดส่วนร้อยละ 38.33 ออมเพื่อสำรองไว้ใช้ในอนาคต ขณะที่ร้อยละ 12.58 ออมใช้ระยะยาวช่วงหลังเกษียณอายุ นับว่าการรองรับสังคมผู้สูงอายุมีสัดส่วนน้อยมาก ยอมรับว่าการออมเงินของสังคมมีน้อย เพราะมีรายได้เท่ากับรายจ่าย และยังต้องกู้มาใช้จ่ายในครัวเรือนจำนวนมาก จึงต้องหาทางรับมือส่งเสริมให้ประชาชนออมรองรับสังคมผู้สูงอายุ เห็นได้จากสัดส่วนภาระหนี้สินของประชาชนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.10 ระบุว่ามีหนี้สิน ซึ่งในจำนวนนี้มีหนี้สินโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 565,302 บาท สัดส่วนร้อยละ 59.47 กู้เงินสำหรับการซื้อ ผ่อนรายเดือน ชำระสินค้า การบริการ สินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมาร้อยละ 35.46 เกิดจากการลงทุนในการประกอบอาชีพ การดำเนินธุรกิจ กิจการ การเกษตร การค้าขาย เกิดจากการสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จากการสร้างภาระหนี้ดังกล่าว
สำหรับวิธีการบริหารจัดการหนี้สินของประชาชนที่มีหนี้สินพบว่า ผู้ที่มีหนี้สินส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.01 ชำระยอดค้างตรงต่อเวลา สัดส่วนร้อยละ 13.29 หาช่องทางการเพิ่มรายได้ เช่น ทำอาชีพเสริม หารายได้พิเศษ ทำงานล่วงเวลา ร้อยละ 10.50 ระบุว่า เลือกแบ่งงวดจ่ายให้มากครั้ง แต่จ่ายจำนวนเงินต่อครั้งให้น้อย ๆ ขณะที่ประชาชนมีความสามารถชำระหนี้สินเฉลี่ย 7.72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
ทั้งนี้ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.65 มีเงินออมไว้ใช้ในการดำรงชีพ ส่วนใหญ่ร้อยละ 48.79 ออมสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เพื่อการรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ สัดส่วนร้อยละ 38.33 ออมเพื่อสำรองไว้ใช้ในอนาคต ขณะที่ร้อยละ 12.58 ออมใช้ระยะยาวช่วงหลังเกษียณอายุ นับว่าการรองรับสังคมผู้สูงอายุมีสัดส่วนน้อยมาก ยอมรับว่าการออมเงินของสังคมมีน้อย เพราะมีรายได้เท่ากับรายจ่าย และยังต้องกู้มาใช้จ่ายในครัวเรือนจำนวนมาก จึงต้องหาทางรับมือส่งเสริมให้ประชาชนออมรองรับสังคมผู้สูงอายุ เห็นได้จากสัดส่วนภาระหนี้สินของประชาชนพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.10 ระบุว่ามีหนี้สิน ซึ่งในจำนวนนี้มีหนี้สินโดยรวมเฉลี่ยประมาณ 565,302 บาท สัดส่วนร้อยละ 59.47 กู้เงินสำหรับการซื้อ ผ่อนรายเดือน ชำระสินค้า การบริการ สินค้าอุปโภคบริโภค รองลงมาร้อยละ 35.46 เกิดจากการลงทุนในการประกอบอาชีพ การดำเนินธุรกิจ กิจการ การเกษตร การค้าขาย เกิดจากการสร้าง ต่อเติม ปรับปรุงที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จากการสร้างภาระหนี้ดังกล่าว
สำหรับวิธีการบริหารจัดการหนี้สินของประชาชนที่มีหนี้สินพบว่า ผู้ที่มีหนี้สินส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.01 ชำระยอดค้างตรงต่อเวลา สัดส่วนร้อยละ 13.29 หาช่องทางการเพิ่มรายได้ เช่น ทำอาชีพเสริม หารายได้พิเศษ ทำงานล่วงเวลา ร้อยละ 10.50 ระบุว่า เลือกแบ่งงวดจ่ายให้มากครั้ง แต่จ่ายจำนวนเงินต่อครั้งให้น้อย ๆ ขณะที่ประชาชนมีความสามารถชำระหนี้สินเฉลี่ย 7.72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งอยู่ในระดับมาก