นายจิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง (บขส.) เปิดเผยว่า บขส.แสดงความสนใจขยายเส้นทางเดินรถให้เชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น เพื่อหาโอกาสทางตลาดใหม่ โดยเฉพาะเส้นทางประเทศพม่า ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากด้านการท่องเที่ยวในเมืองต่างๆ เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเมืองอื่นๆ ที่มีศักยภาพด้านความต้องการเดินทาง
นอกจากนี้ ยังสนใจเดินรถเชื่อมต่อเส้นทางไทย-เมียนมา-อินเดีย จากชายแดน อ.แม่สอด เข้าสู่เมืองเมียวดี และผ่านชายแดนเมืองมอเรห์ ไปอินเดีย ตลอดจนประเทศเศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างเวียดนาม โดยมีเส้นทางที่สนใจ คือ เมืองเว้และเมืองดานัง พร้อมสนใจเปิดเส้นทางเดินรถเมืองชายแดนเชื่อมต่อพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบัน บขส.ยังไม่มีเส้นทาง ได้แก่ มาเลเซีย ที่พร้อมเชื่อมต่อไปยังสิงคโปร์ด้วย
อย่างไรก็ตาม การขยายเส้นทางเดินรถพาดผ่านไปยังประเทศที่ 3 ต้องเจรจากับประเทศทางผ่านเพื่อขอดำเนินการเส้นทาง ซึ่งในแผนศึกษาต้องจัดทำให้รอบด้านโดยเฉพาะความปลอดภัยของผู้โดยสารในบางประเทศที่มีชนกลุ่มน้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางและหารือร่วมกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ก่อนส่งเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาเห็นชอบต่อไป ขณะที่ในแต่ละปีรายได้จากการเดินรถเชื่อมต่อเส้นทางประเทศเพื่อนบ้านของ บขส.มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 15 ของรายได้แต่ละปี หรือราว 187 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2559 จากรายได้ทั้งหมด 3,743 ล้านบาท ซึ่งตลาดใหญ่ของ บขส.นั้น คือ สปป.ลาว ปัจจุบันมีเส้นทางเดินรถเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านรวม 15 เส้นทาง แบ่งเป็น สปป.ลาว 13 เส้นทาง
นอกจากนี้ ยังสนใจเดินรถเชื่อมต่อเส้นทางไทย-เมียนมา-อินเดีย จากชายแดน อ.แม่สอด เข้าสู่เมืองเมียวดี และผ่านชายแดนเมืองมอเรห์ ไปอินเดีย ตลอดจนประเทศเศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างเวียดนาม โดยมีเส้นทางที่สนใจ คือ เมืองเว้และเมืองดานัง พร้อมสนใจเปิดเส้นทางเดินรถเมืองชายแดนเชื่อมต่อพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบัน บขส.ยังไม่มีเส้นทาง ได้แก่ มาเลเซีย ที่พร้อมเชื่อมต่อไปยังสิงคโปร์ด้วย
อย่างไรก็ตาม การขยายเส้นทางเดินรถพาดผ่านไปยังประเทศที่ 3 ต้องเจรจากับประเทศทางผ่านเพื่อขอดำเนินการเส้นทาง ซึ่งในแผนศึกษาต้องจัดทำให้รอบด้านโดยเฉพาะความปลอดภัยของผู้โดยสารในบางประเทศที่มีชนกลุ่มน้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาเส้นทางและหารือร่วมกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ก่อนส่งเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงคมนาคมให้พิจารณาเห็นชอบต่อไป ขณะที่ในแต่ละปีรายได้จากการเดินรถเชื่อมต่อเส้นทางประเทศเพื่อนบ้านของ บขส.มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 15 ของรายได้แต่ละปี หรือราว 187 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2559 จากรายได้ทั้งหมด 3,743 ล้านบาท ซึ่งตลาดใหญ่ของ บขส.นั้น คือ สปป.ลาว ปัจจุบันมีเส้นทางเดินรถเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านรวม 15 เส้นทาง แบ่งเป็น สปป.ลาว 13 เส้นทาง