เมื่อเวลา 17.00 น. (13 ก.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ฉบับที่ 2 โดยระบุว่า ในช่วงวันที่ 14 - 18 กรกฎาคมนี้ ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย โดยมีรายละเอียดตามภาคต่าง ๆ ดังนี้
ภาคเหนือ วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม ที่ จ.เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 14 - 16 กรกฎาคม ที่ จ.เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุบลราชธานี ขอนแก่น บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม ที่ จ.เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และมหาสารคาม
ภาคกลาง วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครปฐม สิงห์บุรี และลพบุรี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม ที่ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท และลพบุรี
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี
ภาคตะวันออก วันที่ 14 - 16 กรกฎาคม จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ความสูงคลื่นประมาณ 2 เมตร วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ความสูงคลื่นประมาณ 1 - 2 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ความสูงคลื่น 1 - 2 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก วันที่ 14 - 17 กรกฎาคม จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ความสูงคลื่น 2 - 3 เมตร วันที่ 18 กรกฎาคม จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ความสูงคลื่นประมาณ 2 เมตร
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ทั้งนี้ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เวียดนามตอนบน และลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรง
ภาคเหนือ วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม ที่ จ.เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม ที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 14 - 16 กรกฎาคม ที่ จ.เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุบลราชธานี ขอนแก่น บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม ที่ จ.เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น บึงกาฬ สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร และมหาสารคาม
ภาคกลาง วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครปฐม สิงห์บุรี และลพบุรี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม ที่ จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท และลพบุรี
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม จ.สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี
ภาคตะวันออก วันที่ 14 - 16 กรกฎาคม จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ความสูงคลื่นประมาณ 2 เมตร วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ความสูงคลื่นประมาณ 1 - 2 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก วันที่ 15 - 16 กรกฎาคม จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี วันที่ 17 - 18 กรกฎาคม จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ความสูงคลื่น 1 - 2 เมตร
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก วันที่ 14 - 17 กรกฎาคม จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ความสูงคลื่น 2 - 3 เมตร วันที่ 18 กรกฎาคม จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ความสูงคลื่นประมาณ 2 เมตร
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ทั้งนี้ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย เวียดนามตอนบน และลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรง