นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน (ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา) ซึ่งในการดำเนินการโครงการดังกล่าว กระทรวงคมนาคมเห็นควรให้เลือกใช้วัสดุก่อสร้างหลักที่สามารถจัดหาได้ภายในประเทศให้มากที่สุด เนื่องจากเป็นโครงการที่ก่อสร้างในประเทศไทย โดยเบื้องต้นจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดหาวัสดุก่อสร้างหลักจากตลาดภายในประเทศ พบว่ามีเหล็กบางส่วน คือ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย ยังไม่ชัดเจนว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานใด แต่มีแนวโน้มต้องเป็นไปตามมาตรฐานต่างประเทศ รวมถึงโครงการของรัฐบาลอีกหลายโครงการ ซึ่งมีความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในกลุ่มเหล็กอีกหลายรายการที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ)
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตได้ในประเทศ และเพื่อให้การควบคุมการทำผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ตามอำนาจหน้าที่ของ สมอ. ไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจอันจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการส่งเสริมนโยบาย Ease of Doing Business ของรัฐบาล สมอ. จึงได้เชิญสมาคม/องค์กรภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเหล็กในประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และรายละเอียดเกี่ยวกับเหล็กที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับงานโยธาในโครงการดังกล่าว รวมทั้งการขออนุญาตทำตามมาตรา 20 และการขออนุญาตทำแตกต่างจากมาตรฐานตามมาตรา 20 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 230 อาคาร สมอ. เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กให้ได้ตามข้อกำหนดของโครงการ รองรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างเฟสแรก ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร คาดว่าต้องใช้ปริมาณเหล็กสูงถึงหลายแสนตัน
นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กของไทยและส่งเสริมให้ใช้วัสดุที่ผลิตได้ภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลด้วย
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตได้ในประเทศ และเพื่อให้การควบคุมการทำผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ตามอำนาจหน้าที่ของ สมอ. ไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจอันจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการส่งเสริมนโยบาย Ease of Doing Business ของรัฐบาล สมอ. จึงได้เชิญสมาคม/องค์กรภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเหล็กในประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และรายละเอียดเกี่ยวกับเหล็กที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างสำหรับงานโยธาในโครงการดังกล่าว รวมทั้งการขออนุญาตทำตามมาตรา 20 และการขออนุญาตทำแตกต่างจากมาตรฐานตามมาตรา 20 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 230 อาคาร สมอ. เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กให้ได้ตามข้อกำหนดของโครงการ รองรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างเฟสแรก ช่วงกรุงเทพ - นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร คาดว่าต้องใช้ปริมาณเหล็กสูงถึงหลายแสนตัน
นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กของไทยและส่งเสริมให้ใช้วัสดุที่ผลิตได้ภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาลด้วย