นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ระบุถึงความคืบหน้าการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่มีเหตุนักศึกมหาวิทยาลัยชื่อดัง และเจ้าหน้าที่โรงงานพลัดตกบ่อบำบัดน้ำเสีย จนเสียชีวิตรวมถึง 5 ราย ภายในบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยจากการตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการพลัดตกลงไปในบ่ออับอากาศของนักศึกษาสัตวแพทย์ที่มาดูงาน ที่เป็นบ่อบำบัดน้ำเสียที่แยกไขมันออกแล้ว ก่อนส่งเข้าสู่ระบบบำบัดแบบตะกอนเร่ง มีขนาด 3x4 เมตร ลึก 2.5 เมตร และมีการเข้าช่วยเหลือทั้งที่ไม่มีความรู้ และเกิดการตกใจ ทำให้เกิดการลงไปช่วยโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย จนเป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจ จึงเกิดความสูญเสียมากถึง 5 ราย รวมถึงจุดเกิดเหตุมีสิ่งกีดขวางอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้การเข้าช่วยเหลือทำได้ยากลำบาก ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องตามหลักสากลที่ต้องทำให้พื้นที่เสี่ยงอย่างนี้ ต้องอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางเพื่อให้สามารถบำรุงรักษาหรือช่วยเหลือ หากเกิดเหตุขึ้นได้อย่างง่ายได้ รวมถึงในบ่อบำบัดดังกล่าวไม่มีบันไดภายในบ่อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องมี
โดยภายหลังการเข้าตรวจสอบพบว่าค่าปริมาณก๊าซและค่าออกซิเจน ที่ตรวจวัดได้ในพื้นที่เกิดเหตุ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อตัวมนุษย์ได้ แต่ในเรื่องของความคลาดเคลื่อนในเรื่องของระยะเวลาขณะเกิดเหตุ กับเวลาที่เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ในประเด็นนี้ ไม่สามารถตอบได้ว่า ณ ขณะเกิดเหตุมีค่าก๊าซสูงกว่าที่กำหนดหรือไม่ เนื่องจากสภาพภายในบ่อน้ำบำบัด ตอนเกิดเหตุมีน้ำอยู่ในบ่อพัก แต่ช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบมีการสูบน้ำออกไปหมดแล้ว ในส่วนนี้ก็เป็นตัวแปรที่ทำให้ค่ามีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน
ส่วนประเด็นว่ามีการเปิดฝาท่อทิ้งไว้จนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียแบบนี้หรอไม่นั้น ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม สอบถามเจ้าหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบในการตรวจสอบพบว่า ในช่วงเวลา 7-8 โมงเช้าวันเกิดเหตุ มีการเข้าไปตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ พบว่ายังปิดอยู่ แต่เมื่อเกิดเหตุกลับพบว่า ฝาท่อดังกล่าวตกลงไปอยู่ก้นบ่อกับร่างผู้เสียชีวิต ซึ่งสาเหตุคงต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการในการตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง
เบื้องต้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ออกคำสั่งมาตรา 39 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โดยสั่งให้โรงงานดังกล่าว หยุดประกอบกิจการในส่วนบำบัดน้ำเสียนาน 30วัน จนกว่าจะมีการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในส่วนของการดำเนินการเกี่ยวกับความผิดในเรื่องบุคคลากร ที่เข้าข่ายละเลยขั้นตอนปฏิบัติต่างๆที่ควรต้องดำเนินการเพื่อความปลอดภัย อย่างเช่นบุคคลากรด้านความปลอดภัย จป. หรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในที่อับอากาศ จะอยู่ในการดำเนินการของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ต้องเข้ามาดูและและจัดการ
โดยภายหลังการเข้าตรวจสอบพบว่าค่าปริมาณก๊าซและค่าออกซิเจน ที่ตรวจวัดได้ในพื้นที่เกิดเหตุ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ที่ไม่ส่งผลอันตรายต่อตัวมนุษย์ได้ แต่ในเรื่องของความคลาดเคลื่อนในเรื่องของระยะเวลาขณะเกิดเหตุ กับเวลาที่เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ในประเด็นนี้ ไม่สามารถตอบได้ว่า ณ ขณะเกิดเหตุมีค่าก๊าซสูงกว่าที่กำหนดหรือไม่ เนื่องจากสภาพภายในบ่อน้ำบำบัด ตอนเกิดเหตุมีน้ำอยู่ในบ่อพัก แต่ช่วงเวลาที่เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบมีการสูบน้ำออกไปหมดแล้ว ในส่วนนี้ก็เป็นตัวแปรที่ทำให้ค่ามีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน
ส่วนประเด็นว่ามีการเปิดฝาท่อทิ้งไว้จนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียแบบนี้หรอไม่นั้น ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม สอบถามเจ้าหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบในการตรวจสอบพบว่า ในช่วงเวลา 7-8 โมงเช้าวันเกิดเหตุ มีการเข้าไปตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ พบว่ายังปิดอยู่ แต่เมื่อเกิดเหตุกลับพบว่า ฝาท่อดังกล่าวตกลงไปอยู่ก้นบ่อกับร่างผู้เสียชีวิต ซึ่งสาเหตุคงต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการในการตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง
เบื้องต้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ออกคำสั่งมาตรา 39 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โดยสั่งให้โรงงานดังกล่าว หยุดประกอบกิจการในส่วนบำบัดน้ำเสียนาน 30วัน จนกว่าจะมีการปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในส่วนของการดำเนินการเกี่ยวกับความผิดในเรื่องบุคคลากร ที่เข้าข่ายละเลยขั้นตอนปฏิบัติต่างๆที่ควรต้องดำเนินการเพื่อความปลอดภัย อย่างเช่นบุคคลากรด้านความปลอดภัย จป. หรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินในที่อับอากาศ จะอยู่ในการดำเนินการของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ต้องเข้ามาดูและและจัดการ