องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับความยากจนที่มีผลต่อการเข้าถึงการศึกษาของเด็กในประเทศไทย พบว่า ความยากจนเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้เด็กในไทยไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ในภาพรวมไทยมีเด็ก 9 ใน 10 คนของเด็กวัยประถม (อายุ 6-11 ปี) กำลังเรียนอยู่ในระดับประถม แต่เมื่อมาพิจารณาดูอัตราการเข้าเรียนตามเกณฑ์อายุ พบว่า ฐานะครอบครัวส่งผลต่อการเข้าเรียนของเด็กอย่างชัดเจน เพราะมีเพียงร้อยละ 66.9 ของเด็กวัย 6 ปีจากครัวเรือนที่ยากจนมากที่กำลังเรียนในชั้น ป.1 เมื่อเทียบกับครัวเรือนที่ร่ำรวยมาก ซึ่งมีถึง ร้อยละ 80.3 อีกทั้ง 1 ใน 5 คนของเด็กในครัวเรือนที่ยากจน และยากจนที่สุดไม่ได้เรียนในระดับมัธยม ขณะที่ในครัวเรือนที่ร่ำรวยที่สุดมีไม่ถึง 1 ใน 20 คน ที่ไม่ได้เรียนในระดับมัธยมศึกษา
ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดว่าภายในปี 2573 เด็กทุกคนจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับประถม และมัธยม ไทยจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากฐานะครอบครัว และถิ่นที่อยู่อาศัย ยังไม่ได้รับการแก้ไขด้วยกลยุทธ์ และทรัพยากรที่เหมาะสม
องค์การยูนิเซฟ ยังระบุว่า ควรเพิ่มการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนที่ห่างไกล และขาดแคลน รวมถึง ปรับปรุงโครงการช่วยเหลือทางสังคมโดยเน้นไปที่เด็กขาดโอกาสมากที่สุด เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเด็กๆ ไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้ง ปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงเรียน และนักเรียนที่ขาดโอกาส โดยเน้นทรัพยากรที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น เช่น ทุนการศึกษาของโรงเรียน การบรรจุครู และอุปกรณ์การเรียนการสอน
ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กำหนดว่าภายในปี 2573 เด็กทุกคนจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับประถม และมัธยม ไทยจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำอันเกิดจากฐานะครอบครัว และถิ่นที่อยู่อาศัย ยังไม่ได้รับการแก้ไขด้วยกลยุทธ์ และทรัพยากรที่เหมาะสม
องค์การยูนิเซฟ ยังระบุว่า ควรเพิ่มการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียนที่ห่างไกล และขาดแคลน รวมถึง ปรับปรุงโครงการช่วยเหลือทางสังคมโดยเน้นไปที่เด็กขาดโอกาสมากที่สุด เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเด็กๆ ไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้ง ปรับปรุงการจัดสรรทรัพยากรให้แก่โรงเรียน และนักเรียนที่ขาดโอกาส โดยเน้นทรัพยากรที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น เช่น ทุนการศึกษาของโรงเรียน การบรรจุครู และอุปกรณ์การเรียนการสอน