หลังจากที่กระทรวงมหาดไทย เปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม 4 ข้อ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัด ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (1111) ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร รวมทั้งศูนย์บริการประชาชนเขตทุกเขตรวม 1,007 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน เป็นต้นมา และเพื่ออำนวยความสะดวกในการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นของประชาชนได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ยังได้เพิ่มช่องทางการแสดงความคิดเห็น ทั้งในส่วนภูมิภาคเพิ่มที่ศูนย์บริการร่วมจังหวัด (One Stop Service) ซึ่งมีที่ตั้งให้บริการประชาชนอยู่ในบริเวณห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าต่าง ๆ ทั่วประเทศจำนวน 47 แห่ง ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการรับฟังความคิดเห็นได้ ณ จุดบริการด่วนมหานคร หรือ Bangkok Express Service ซึ่งมีที่ตั้งในห้างสรรพสินค้าและสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 12 จุด รวมทั้งโรงเรียนและศูนย์บริการสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมาด้วย จากนั้นศูนย์ดำรงธรรมจะดำเนินการจัดเก็บรวบรวมและส่งต่อให้จังหวัด สรุปส่งมาให้กระทรวงมหาดไทย หลังครบ 10 วัน ซึ่งวันนี้ (23 มิ.ย.) เป็นรอบแรกที่จะมีการรวบรวมส่งมาที่กระทรวงมหาดไทย
สำหรับยอดตัวเลขสรุปของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน จนถึงวันที่ 22 มิถุนายน มีประชาชนมาแสดงความเห็นและตอบคำถาม 4 คำถามของนายกรัฐมนตรีแล้ว 194,980 คน จำนวนนี้ ผ่านช่องทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ 188,410 คน ขณะที่ผ่าน 3 ช่องทางในกรุงเทพมหานคร มี 6,570 คน
ส่วนยอดสรุปของต่างจังหวัด มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จังหวัดอุบลราชธานี 25,961 คน ขอนแก่น 18,121 คน และนครราชสีมา 8,466 คน ส่วนใน กทม. ผ่าน 3 ช่องทาง แบ่งเป็นศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย 42 คน ศูนย์บริการประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรี 206 คน และสำนักงานเขต 50 เขต 6,322 คน
สำหรับยอดตัวเลขสรุปของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน จนถึงวันที่ 22 มิถุนายน มีประชาชนมาแสดงความเห็นและตอบคำถาม 4 คำถามของนายกรัฐมนตรีแล้ว 194,980 คน จำนวนนี้ ผ่านช่องทางศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ 188,410 คน ขณะที่ผ่าน 3 ช่องทางในกรุงเทพมหานคร มี 6,570 คน
ส่วนยอดสรุปของต่างจังหวัด มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จังหวัดอุบลราชธานี 25,961 คน ขอนแก่น 18,121 คน และนครราชสีมา 8,466 คน ส่วนใน กทม. ผ่าน 3 ช่องทาง แบ่งเป็นศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย 42 คน ศูนย์บริการประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรี 206 คน และสำนักงานเขต 50 เขต 6,322 คน