นายสมศักดิ์ ห่มม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะ รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ขสมก. จะหารือร่วมกัน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สำนักงบประมาณ เกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการของ ขสมก. ในช่วง 5 ปี (2560-64) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐที่ให้แก้ปัญหาโดยเร่งด่วน
ทั้งนี้ จะมีการเสนอแนวทางเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย รวมถึงผลดี - ผลเสียของแต่ละแนวทางให้ที่ประชุมได้รับทราบ ซึ่งหากเห็นชอบจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด ขสมก. และเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติในเดือนมิถุนายนนี้ หากผ่านการอนุมัติจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ในเดือนกรกฎาคม
สำหรับแผนการเพิ่มรายได้ เช่น การปรับขึ้นค่าโดยสารในแต่ละอัตรา ว่าจะทำให้ ขสมก. มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง ส่วนแผนลดค่าใช้จ่าย เช่น การจัดทำโครงการสมัครใจลาออก หรือเออร์ลี รีไทร์ หลังจากที่นำ ขสมก. ระบบอี-ทิกเก็ต (e-Ticket) มาใช้แทนพนักงานเก็บค่าโดยสาร โดยตั้งเป้าจะลดการใช้พนักงานเก็บค่าโดยสารลง จากปัจจุบัน 4.2 คนต่อ 1 คัน เหลือเพียง 2.4 คนต่อ 1 คัน หรือปรับลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือปรับลดลงประมาณ 1,000 คน จากปัจจุบันที่มีพนักงานทั้งสิ้น 2,000 คน
ส่วนโครงการจัดหารถเมล์ใหม่ เป็นหนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการของ ขสมก. โดยตั้งเป้าจัดหารถเมล์ใหม่ทั้งหมด 3,000 คัน จากปัจจุบันที่มีรถเมล์อยู่ 2,600 คัน เพื่อรองรับการปฏิรูปเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางใหม่ของกรมการขนส่งทางบก จำนวน 138 เส้นทาง โดยแบ่งเป็น การจัดหารถเมล์เอ็นจีวีล็อตแรก 489 คัน ภายในปี 2560 การจัดหารถเมล์เอ็นจีวี 700 คัน ภายในปี 2562 ปรับปรุงรถเก่าให้มีสภาพการใช้งานที่ดีขึ้น 600 กว่าคัน ที่เหลือ 1,711 คัน จัดซื้อรถใหม่ แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเป็นรถประเภทใด นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าปลดระวางรถเมล์เก่า 2,700 คัน ภายในปี 2564 แบ่งเป็น ปี 2560 จำนวน 107 คัน ปี 2561 จำนวน 501 คัน ปี 2562 จำนวน 624 คัน ปี 2563 จำนวน 669 คัน และปี 2564 จำนวน 852 คัน
ทั้งนี้ จะมีการเสนอแนวทางเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย รวมถึงผลดี - ผลเสียของแต่ละแนวทางให้ที่ประชุมได้รับทราบ ซึ่งหากเห็นชอบจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมบอร์ด ขสมก. และเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาอนุมัติในเดือนมิถุนายนนี้ หากผ่านการอนุมัติจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ในเดือนกรกฎาคม
สำหรับแผนการเพิ่มรายได้ เช่น การปรับขึ้นค่าโดยสารในแต่ละอัตรา ว่าจะทำให้ ขสมก. มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง ส่วนแผนลดค่าใช้จ่าย เช่น การจัดทำโครงการสมัครใจลาออก หรือเออร์ลี รีไทร์ หลังจากที่นำ ขสมก. ระบบอี-ทิกเก็ต (e-Ticket) มาใช้แทนพนักงานเก็บค่าโดยสาร โดยตั้งเป้าจะลดการใช้พนักงานเก็บค่าโดยสารลง จากปัจจุบัน 4.2 คนต่อ 1 คัน เหลือเพียง 2.4 คนต่อ 1 คัน หรือปรับลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือปรับลดลงประมาณ 1,000 คน จากปัจจุบันที่มีพนักงานทั้งสิ้น 2,000 คน
ส่วนโครงการจัดหารถเมล์ใหม่ เป็นหนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการของ ขสมก. โดยตั้งเป้าจัดหารถเมล์ใหม่ทั้งหมด 3,000 คัน จากปัจจุบันที่มีรถเมล์อยู่ 2,600 คัน เพื่อรองรับการปฏิรูปเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางใหม่ของกรมการขนส่งทางบก จำนวน 138 เส้นทาง โดยแบ่งเป็น การจัดหารถเมล์เอ็นจีวีล็อตแรก 489 คัน ภายในปี 2560 การจัดหารถเมล์เอ็นจีวี 700 คัน ภายในปี 2562 ปรับปรุงรถเก่าให้มีสภาพการใช้งานที่ดีขึ้น 600 กว่าคัน ที่เหลือ 1,711 คัน จัดซื้อรถใหม่ แต่ยังไม่ได้ระบุว่าเป็นรถประเภทใด นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าปลดระวางรถเมล์เก่า 2,700 คัน ภายในปี 2564 แบ่งเป็น ปี 2560 จำนวน 107 คัน ปี 2561 จำนวน 501 คัน ปี 2562 จำนวน 624 คัน ปี 2563 จำนวน 669 คัน และปี 2564 จำนวน 852 คัน