พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (13 มิ.ย.) ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การเยียวยาตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2556-2557 โดยจะให้ครอบคลุมไปยังเหตุการณ์ปี 2553-2555 ด้วย ซึ่งในหลักการดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องเงินยังชีพรายเดือนที่จะให้กับบุตรของผู้ที่เสียหาย ทั้งเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากเดิมให้ได้รับเงินยังชีพรายเดือนจนจบปริญญาตรี เพิ่มเติมว่า จบปริญญาตรีใบเดียว และมีอายุไม่เกิน 25 ปี
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีเงินทุนการศึกษารายปีต่อเนื่อง ที่ให้เด็กกำพร้า หรือเด็กที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากบิดามารดา เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง โดยจะให้จนจบปริญญาตรี หลักสูตรแรก เพียงหลักสูตรเดียว และมีอายุไม่เกิน 25 ปีเช่นกัน ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 100 คน วงเงินเยียวยากว่า 6 ล้านบาท
ขณะที่การให้ความช่วยเหลือเงินดำรงชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งที่ผ่านมามีการช่วยเหลือแล้วในปี 2549-2550 โดยผู้เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 43 ราย ได้เงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 740,000 บาทต่อราย และผู้ที่บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ จิตฟั่นเฟือน มี 47 คน ได้รับเงินช่วยเหลือ 4,900,000 บาทต่อคน ซึ่งจำนวนเงินค่อนข้างแตกต่าง เนื่องจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต
ทั้งนี้ การช่วยเหลือต่าง ๆ มีจนถึงปี 2550 และยังติดค้างการจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ดังนั้น วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงมีมติจ่ายเงินจัดการศพแก่วีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว รายละ 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่วีรชน และญาติวีรชน รายละ 3,000 บาทต่อเดือน จนกว่าจะเสียชีวิต
พล.ท.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีเงินทุนการศึกษารายปีต่อเนื่อง ที่ให้เด็กกำพร้า หรือเด็กที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากบิดามารดา เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง โดยจะให้จนจบปริญญาตรี หลักสูตรแรก เพียงหลักสูตรเดียว และมีอายุไม่เกิน 25 ปีเช่นกัน ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบประมาณ 100 คน วงเงินเยียวยากว่า 6 ล้านบาท
ขณะที่การให้ความช่วยเหลือเงินดำรงชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ซึ่งที่ผ่านมามีการช่วยเหลือแล้วในปี 2549-2550 โดยผู้เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 43 ราย ได้เงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 740,000 บาทต่อราย และผู้ที่บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ จิตฟั่นเฟือน มี 47 คน ได้รับเงินช่วยเหลือ 4,900,000 บาทต่อคน ซึ่งจำนวนเงินค่อนข้างแตกต่าง เนื่องจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต
ทั้งนี้ การช่วยเหลือต่าง ๆ มีจนถึงปี 2550 และยังติดค้างการจ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ดังนั้น วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงมีมติจ่ายเงินจัดการศพแก่วีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว รายละ 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าดำรงชีพแก่วีรชน และญาติวีรชน รายละ 3,000 บาทต่อเดือน จนกว่าจะเสียชีวิต