นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2560 ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ พื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัย 29 จังหวัด ได้แก่ พะเยา อุบลราชธานี พิษณุโลก สุโขทัย เลย เชียงใหม่ ลำพูน อุดรธานี อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก ลำปาง ชลบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ จันทบุรี ลพบุรี สระแก้ว นครปฐม พังงา นครศรีธรรมราช ระนอง ขอนแก่น และนครสวรรค์ รวม 106 อำเภอ 484 ตำบล 3,204 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35,110 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 5 ราย
ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี สุโขทัย นครศรีธรรมราช สุพรรณบุรี เชียงใหม่ เลย ลำปาง สุราษฎร์ธานี ลำพูน ระนอง ชลบุรี ขอนแก่น และนครสวรรค์ รวม 75 อำเภอ 395 ตำบล 2,793 หมู่บ้าน 26 ชุมชน ปภ.ได้ร่วมกับทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงประสานจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มจากภาวะฝนตกหนัก และปริมาณฝนสะสม โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด อีกทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ขณะเดียวกัน ให้แจ้งเตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด โดยมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) 17 จังหวัด ได้แก่ พะเยา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร อุดรธานี สุโขทัย นครศรีธรรมราช สุพรรณบุรี เชียงใหม่ เลย ลำปาง สุราษฎร์ธานี ลำพูน ระนอง ชลบุรี ขอนแก่น และนครสวรรค์ รวม 75 อำเภอ 395 ตำบล 2,793 หมู่บ้าน 26 ชุมชน ปภ.ได้ร่วมกับทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วน
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงประสานจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มจากภาวะฝนตกหนัก และปริมาณฝนสะสม โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด อีกทั้งจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงภัยให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ขณะเดียวกัน ให้แจ้งเตือนประชาชนระมัดระวังอันตรายจากภาวะฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป