กรมทางหลวง โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมสะพานลอยข้ามทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข309 สี่แยกวังน้อย – ต่อทางของเทศบาลพระนครศรีอยุธยา ที่ กม.20+321 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ประชาชนและผู้อาศัยในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งรูปแบบการพัฒนาโครงการและผลการศึกษาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพื้นที่ตั้งโครงการพบว่า มีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ ในรัศมี 2 กิโลเมตร จึงต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทพรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการ
สำหรับโครงการสะพานลอยข้ามทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข309 สี่แยกวังน้อย – ต่อทางของเทศบาลพระนครศรีอยุธยา ที่ กม.20+321 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรูปแบบโครงสร้างสะพานเป็นแบบ Directional Ramp เชื่อมกับสะพานเดิมทั้งขาไปและขากลับบนทางหลวงหมายเลข 309 จำนวน 2 แห่ง 1) สะพานข้ามทางรถไฟ (Ramp 1) ขนาด 1 ช่องจราจร ความยาว 275 เมตร เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข309 กับถนนเลียบทางรถไฟด้านทิศใต้ เพื่อไปยังวัดพนัญเชิงวรวิหาร 2) สะพานข้ามทางรถไฟ (Ramp 2) ขนาด 1 ช่องจราจร ความยาว 235 เมตร เชื่อมต่อระหว่างถนนเลียบทางรถไฟด้านทิศเหนือกับทางหลวงหมายเลข309 ไปยังทางหลวงหมายเลข32 โดยพื้นที่การศึกษาจะครอบคลุมพื้นที่ใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลไผ่ลิง ตำบลหัวรอ ตำบลหอรัตนไชย ตำบลกะมัง และตำบลคลองสวนพูล อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ ปัจจุบันบริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการมีจำนวนรถไฟที่ผ่านทั้งสิ้นประมาณ 47 ขบวนต่อวัน และมีปริมาณการจราจรประมาณ 20,864 คันต่อวัน โดยบริเวณจุดตัดระหว่างทางหลวงกับทางรถไฟถือเป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง กรมทางหลวงจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ทางและอำนวยความสะดวกในการสัญจรให้รวดเร็วยิ่งขึ้น หากประชาชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมทางหลวง โทร 02-354- 6777 หรือ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และติดตามความก้าวหน้าโครงการได้ที่ www.overpass-railway.com
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพื้นที่ตั้งโครงการพบว่า มีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศและโบราณสถาน แหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ ในรัศมี 2 กิโลเมตร จึงต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกรมทางหลวงได้ว่าจ้างบริษัทพรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในโครงการดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการ
สำหรับโครงการสะพานลอยข้ามทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข309 สี่แยกวังน้อย – ต่อทางของเทศบาลพระนครศรีอยุธยา ที่ กม.20+321 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรูปแบบโครงสร้างสะพานเป็นแบบ Directional Ramp เชื่อมกับสะพานเดิมทั้งขาไปและขากลับบนทางหลวงหมายเลข 309 จำนวน 2 แห่ง 1) สะพานข้ามทางรถไฟ (Ramp 1) ขนาด 1 ช่องจราจร ความยาว 275 เมตร เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงหมายเลข309 กับถนนเลียบทางรถไฟด้านทิศใต้ เพื่อไปยังวัดพนัญเชิงวรวิหาร 2) สะพานข้ามทางรถไฟ (Ramp 2) ขนาด 1 ช่องจราจร ความยาว 235 เมตร เชื่อมต่อระหว่างถนนเลียบทางรถไฟด้านทิศเหนือกับทางหลวงหมายเลข309 ไปยังทางหลวงหมายเลข32 โดยพื้นที่การศึกษาจะครอบคลุมพื้นที่ใน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลไผ่ลิง ตำบลหัวรอ ตำบลหอรัตนไชย ตำบลกะมัง และตำบลคลองสวนพูล อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ ปัจจุบันบริเวณพื้นที่ศึกษาโครงการมีจำนวนรถไฟที่ผ่านทั้งสิ้นประมาณ 47 ขบวนต่อวัน และมีปริมาณการจราจรประมาณ 20,864 คันต่อวัน โดยบริเวณจุดตัดระหว่างทางหลวงกับทางรถไฟถือเป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง กรมทางหลวงจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ทางและอำนวยความสะดวกในการสัญจรให้รวดเร็วยิ่งขึ้น หากประชาชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมทางหลวง โทร 02-354- 6777 หรือ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และติดตามความก้าวหน้าโครงการได้ที่ www.overpass-railway.com