สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศ จำนวน 1,282 คน เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไร? กรณีนายกฯ ตั้งประเด็นคำถาม 4 ข้อ ก่อนพาประเทศสู่การเลือกตั้ง" จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ฝากประเด็นคำถามไว้ 4 ข้อ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ในรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน"
จากการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.38 เห็นว่าเป็นคำถามจากใจนายกรัฐมนตรี ที่ถามอย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 72.85 มองว่าเป็นสิทธิที่สามารถถามได้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ร้อยละ 62.40 คิดว่าเพราะอยากได้ข้อมูลไปใช้เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 53.59 มองว่าเป็นคำถามชี้นำ อาจทำให้เกิดความแตกแยะ และร้อยละ 52.65 เกรงว่าจะกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์
ส่วนกรณีที่นักการเมืองออกมาต่อต้านประเด็นคำถาม 4 ข้อนั้น ประชาชนร้อยละ 80.81 ระบุ เนื่องจากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกกีดกัน และใช้อำนาจมากเกินไป ร้อยละ 78.63 มองว่าไม่เกิดผลดีกับนักการเมือง ทำให้เสียประโยชน์ ร้อยละ 75.66 คิดว่านักการเมืองรู้สึกไม่สบายใจ และเป็นกังวล ส่วนร้อยละ 68.56 ระบุ เกรงว่าจะกระทบต่อการเลือกตั้ง และร้อยละ 56.06 ระบุว่า เนื่องจากีความเห็นต่าง ต้องการแสดงความคิดเห็นในมุมมองของนักการเมือง
สำหรับผลดีต่อการตั้งคำถาม 4 ข้อ ของนายกรัฐมนตรีนั้น ประชาชนร้อยละ 66.80 ระบุว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ร้อยละ 57.69 ระบุว่า ทำให้รัฐบาลได้แนวทางไปสู่การปฏิบัติ และร้อยละ 43.16 ระบุว่า ทำให้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองก่อนเข้าสู่การเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน ผลเสียของการตั้งคำถาม 4 ข้อดังกล่าว ประชาชนร้อยละ 63.52 มองว่าเป็นการเปิดประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรง ร้อยละ 59.60 ระบุว่า ทำให้เกิดการต่อต้านจากนักการเมืองที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และร้อยละ 56.95 ระบุว่า เป็นคำถามชี้นำ และไม่เป็นกลาง
จากการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.38 เห็นว่าเป็นคำถามจากใจนายกรัฐมนตรี ที่ถามอย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 72.85 มองว่าเป็นสิทธิที่สามารถถามได้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ร้อยละ 62.40 คิดว่าเพราะอยากได้ข้อมูลไปใช้เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ขณะที่ร้อยละ 53.59 มองว่าเป็นคำถามชี้นำ อาจทำให้เกิดความแตกแยะ และร้อยละ 52.65 เกรงว่าจะกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์
ส่วนกรณีที่นักการเมืองออกมาต่อต้านประเด็นคำถาม 4 ข้อนั้น ประชาชนร้อยละ 80.81 ระบุ เนื่องจากคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกกีดกัน และใช้อำนาจมากเกินไป ร้อยละ 78.63 มองว่าไม่เกิดผลดีกับนักการเมือง ทำให้เสียประโยชน์ ร้อยละ 75.66 คิดว่านักการเมืองรู้สึกไม่สบายใจ และเป็นกังวล ส่วนร้อยละ 68.56 ระบุ เกรงว่าจะกระทบต่อการเลือกตั้ง และร้อยละ 56.06 ระบุว่า เนื่องจากีความเห็นต่าง ต้องการแสดงความคิดเห็นในมุมมองของนักการเมือง
สำหรับผลดีต่อการตั้งคำถาม 4 ข้อ ของนายกรัฐมนตรีนั้น ประชาชนร้อยละ 66.80 ระบุว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ร้อยละ 57.69 ระบุว่า ทำให้รัฐบาลได้แนวทางไปสู่การปฏิบัติ และร้อยละ 43.16 ระบุว่า ทำให้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองก่อนเข้าสู่การเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน ผลเสียของการตั้งคำถาม 4 ข้อดังกล่าว ประชาชนร้อยละ 63.52 มองว่าเป็นการเปิดประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรง ร้อยละ 59.60 ระบุว่า ทำให้เกิดการต่อต้านจากนักการเมืองที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และร้อยละ 56.95 ระบุว่า เป็นคำถามชี้นำ และไม่เป็นกลาง