นายทศพร นุชอนงค์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณี จัดสัมมนาเพื่อหาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ร่วมมือกับส่วนราชการ เตรียมความพร้อมรับมือ ภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม ดินถล่ม เมื่อเกิดเหตุ จะรุนแรงและมาเร็วมาก ส่วนราชการเข้าไปช่วยเหลือไม่ทัน ต้องให้เครือข่ายในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมพร้อม เฝ้าระวัง ช่วยเหลือตนเองในเบื้องต้น ก่อนที่ภาครัฐจะเข้าไปช่วยเหลือ
กรมทรัพยากรธรณี จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธรณีพิบัติภัยรายภาค 4 จุด ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ที่ จ.อุตรดิตถ์ เชียงราย ระยองและ ภาคใต้ ที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช โดยศูนย์เรียนรู้ฯ เป็นจุดที่ภาคีเครือข่ายเข้ามาทำกิจกรรมเรียนรู้ มาทำวิจัย เป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยขณะเกิดภัยพิบัติ โดยมีสถาบันการศึกษา ชาวบ้าน ส่วนราชการ ร่วมมือกัน
นอกจากนี้ การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธรณีพิบัติภัยรายภาค จะต้องทำการวางระบบ ให้ประชาชนเรียนรู้ด้วยตนเอง นำเทคนิคของส่วนราชการไปผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีปราชญ์ชาวบ้านเป็นแกนนำวางระบบให้พร้อมรับธรณีพิบัติภัย ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ ชุมชนเป็นส่วนสำคัญ ต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยสร้างภูมิคุ้มกันภัยพิบัติให้ตนเอง โดยทุกคนมีความสำคัญที่สุดในการรับมือภัยพิบัติภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ หากชุมชนทำได้ จะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยพิบัติ ได้อย่างปลอดภัย
กรมทรัพยากรธรณี จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธรณีพิบัติภัยรายภาค 4 จุด ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ที่ จ.อุตรดิตถ์ เชียงราย ระยองและ ภาคใต้ ที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช โดยศูนย์เรียนรู้ฯ เป็นจุดที่ภาคีเครือข่ายเข้ามาทำกิจกรรมเรียนรู้ มาทำวิจัย เป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยขณะเกิดภัยพิบัติ โดยมีสถาบันการศึกษา ชาวบ้าน ส่วนราชการ ร่วมมือกัน
นอกจากนี้ การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธรณีพิบัติภัยรายภาค จะต้องทำการวางระบบ ให้ประชาชนเรียนรู้ด้วยตนเอง นำเทคนิคของส่วนราชการไปผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีปราชญ์ชาวบ้านเป็นแกนนำวางระบบให้พร้อมรับธรณีพิบัติภัย ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ ชุมชนเป็นส่วนสำคัญ ต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยสร้างภูมิคุ้มกันภัยพิบัติให้ตนเอง โดยทุกคนมีความสำคัญที่สุดในการรับมือภัยพิบัติภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ หากชุมชนทำได้ จะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยพิบัติ ได้อย่างปลอดภัย