นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่กรรมาธิการพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติให้เซ็ตซีโรคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้งคณะ ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน กกต. มีปัญหาเรื่องโครงสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การกำหนดคุณสมบัติให้เข้มข้นขึ้น ให้มี กกต. เพิ่มขึ้นอีก 2 คน ทำหน้าที่ด้านกฎหมายและดูแลกฎเกณฑ์กติกาการปฏิบัติของ กกต. เพื่อให้สามารถจัดการเลือกตั้งได้อย่างเข้มแข็ง ดังนั้น การเซ็ตซีโรใหม่ทั้งหมดจะทำให้หมดปัญหาในเรื่องนี้ได้ พร้อมยืนยันว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่า กกต. ชุดเดิมจะปฏิบัติหน้าที่ต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มั่นใจว่าการทำงานของ กกต. ชุดใหม่ จะไม่มีเกิดปัญหา เนื่องจากมีสำนักงาน กกต. รองรับการทำงาน
ทั้งนี้ กกต. ที่ถูกเซ็ตซีโรไปแล้ว รวมทั้ง กกต.ชุดเก่า จะไม่สามารถกลับมาสมัครได้อีก จะถูกตัดสิทธิเช่นเดียวกันหมด ส่วนองค์กรอิสระอื่นๆ จะถูกเซ็ตซีโรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละองค์กรที่พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ได้เลือกปฏิบัติ พร้อมยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเซ็ตซีโรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากมีที่มาไม่สอดคล้องกับหลักสากล
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ไม่ตรงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การตั้งกรรมาธิการร่วม และ สนช. ยังไม่เห็นชอบ จนร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป ส่งผลกระทบต่อโรดแมปเลือกตั้งนั้น ประธาน กรธ. กล่าวว่า หากยังอยู่ในกรอบ 240 วัน กรธ. จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา เว้นแต่จะตกไปหลังจากนั้น กรธ. จะต้องดำเนินการยกร่างใหม่ โดยไม่มีเงื่อนเวลามากำหนดกรอบการทำงาน แต่ส่วนตัวมองว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ กกต. ที่ถูกเซ็ตซีโรไปแล้ว รวมทั้ง กกต.ชุดเก่า จะไม่สามารถกลับมาสมัครได้อีก จะถูกตัดสิทธิเช่นเดียวกันหมด ส่วนองค์กรอิสระอื่นๆ จะถูกเซ็ตซีโรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละองค์กรที่พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ได้เลือกปฏิบัติ พร้อมยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเซ็ตซีโรคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากมีที่มาไม่สอดคล้องกับหลักสากล
ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ไม่ตรงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่การตั้งกรรมาธิการร่วม และ สนช. ยังไม่เห็นชอบ จนร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป ส่งผลกระทบต่อโรดแมปเลือกตั้งนั้น ประธาน กรธ. กล่าวว่า หากยังอยู่ในกรอบ 240 วัน กรธ. จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา เว้นแต่จะตกไปหลังจากนั้น กรธ. จะต้องดำเนินการยกร่างใหม่ โดยไม่มีเงื่อนเวลามากำหนดกรอบการทำงาน แต่ส่วนตัวมองว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว