นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า คาดว่าตั้งแต่วันนี้ (1 ม.ค.) ประชาชนจะเริ่มเดินทางกลับเข้าทำงานหลังหยุดยาวฉลองเทศกาลปีใหม่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือปัญหาหลับใน เนื่องจากเป็นวันส่งท้ายปีเก่าและรับปีใหม่จะมีการดื่มเฉลิมฉลองกันมาก อาจส่งผลให้พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดอาการง่วงนอน และอาการเมาค้าง เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลทำให้สมองตื้อ อ่อนเพลีย หากขับรถจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น จึงขอย้ำเตือนประชาชนก่อนเดินทางกลับขอให้เตรียมตัวล่วงหน้า พักผ่อนให้เต็มที่อย่างน้อย 8 ชั่วโมง งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกินยาที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงซึมได้ เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยากันชัก เป็นต้น หากมีผู้ผลัดเปลี่ยนขับรถได้จะเป็นการดี
ทั้งนี้ ในระหว่างเดินทาง ขอให้ผู้ขับขี่หรือผู้นั่งมาด้วยช่วยสังเกตสัญญาณของอาการง่วง หลับในของผู้ขับ ซึ่งมี 8 ประการ ได้แก่ 1. หาวบ่อยและต่อเนื่อง 2. ใจลอยไม่มีสมาธิ 3. รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย 4. จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาในช่วง 2- 3 กิโลเมตรที่ผ่านมา 5. รู้สึกหนักหนังตา ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือ มองเห็นภาพไม่ชัด 6. รู้สึกมึนหนักศีรษะ 7. ขับรถส่ายไปมาหรือออกนอกเส้นทาง และ 8. มองข้ามสัญญาณไฟ และป้ายจราจร หากมีอาการดังกล่าวเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้หยุดขับรถ อย่าฝืนขับเด็ดขาด และจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่องีบหลับประมาณ 15 นาที ก่อนขับต่อ หรือเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับรถแทน
สำหรับการง่วงนอน มีผลต่อการขับขี่รถจะทำให้ประสาทสัมผัสทุกอย่างช้าลง สมองตื้อ การตัดสินใจผิดพลาด ใจลอย สมองสั่งการกล้ามเนื้อช้าลง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน จึงแตะเบรกได้ช้ากว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ตาม จะมีผลต่อการตัดสินใจช้ากว่าปกติถึง 2 เท่าตัว
ส่วนวิธีการแก้อาการง่วงนอนขณะขับรถ มีหลายวิธี เช่น รับประทานของขบเคี้ยวที่มีรสเปรี้ยวหรือดื่มเครื่องดื่มแช่เย็น จะช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า หรือใช้วิธีเปิดหน้าต่างรถ เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้ลมปะทะหน้า ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในรถ เปิดเพลงฟังดังๆจังหวะเร็ว และร้องตามไปด้วย จะช่วยให้ไม่เกิดอาการง่วงนอนได้ หรือจอดนอนพักในที่ปลอดภัย และเมื่อขับรถทางไกล 4 ชั่วโมงต้องหยุดพัก
ทั้งนี้ ในระหว่างเดินทาง ขอให้ผู้ขับขี่หรือผู้นั่งมาด้วยช่วยสังเกตสัญญาณของอาการง่วง หลับในของผู้ขับ ซึ่งมี 8 ประการ ได้แก่ 1. หาวบ่อยและต่อเนื่อง 2. ใจลอยไม่มีสมาธิ 3. รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย 4. จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาในช่วง 2- 3 กิโลเมตรที่ผ่านมา 5. รู้สึกหนักหนังตา ลืมตาไม่ขึ้น ตาปรือ มองเห็นภาพไม่ชัด 6. รู้สึกมึนหนักศีรษะ 7. ขับรถส่ายไปมาหรือออกนอกเส้นทาง และ 8. มองข้ามสัญญาณไฟ และป้ายจราจร หากมีอาการดังกล่าวเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ขอให้หยุดขับรถ อย่าฝืนขับเด็ดขาด และจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่องีบหลับประมาณ 15 นาที ก่อนขับต่อ หรือเปลี่ยนให้ผู้อื่นขับรถแทน
สำหรับการง่วงนอน มีผลต่อการขับขี่รถจะทำให้ประสาทสัมผัสทุกอย่างช้าลง สมองตื้อ การตัดสินใจผิดพลาด ใจลอย สมองสั่งการกล้ามเนื้อช้าลง เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน จึงแตะเบรกได้ช้ากว่าปกติ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจะต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ตาม จะมีผลต่อการตัดสินใจช้ากว่าปกติถึง 2 เท่าตัว
ส่วนวิธีการแก้อาการง่วงนอนขณะขับรถ มีหลายวิธี เช่น รับประทานของขบเคี้ยวที่มีรสเปรี้ยวหรือดื่มเครื่องดื่มแช่เย็น จะช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า หรือใช้วิธีเปิดหน้าต่างรถ เพื่อให้อากาศถ่ายเทและให้ลมปะทะหน้า ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ในรถ เปิดเพลงฟังดังๆจังหวะเร็ว และร้องตามไปด้วย จะช่วยให้ไม่เกิดอาการง่วงนอนได้ หรือจอดนอนพักในที่ปลอดภัย และเมื่อขับรถทางไกล 4 ชั่วโมงต้องหยุดพัก