นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯ รอความชัดเจนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่าจะเห็นชอบแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียม และภาษีปิโตรเลียมเสร็จสิ้นเมื่อใด เพราะหากล่าช้าจะกระทบต่อการเปิดประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่จะหมดอายุ คือ แหล่งของเชฟรอนและบงกช โดยหากประมูลล่าช้าเกินปี 2560-2561 ผลกระทบ คือ ก๊าซฯ ในปี 2564-2565 จะลดจากแผนไปอย่างมากจากเดิมที่คาดว่าแหล่งที่จะหมดอายุจะลดกำลังผลิตก๊าซฯ ลงจาก 2,100 ล้านลูกบาศก์ต่อวันเหลือ 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ปริมาณก็อาจจะหายไปอย่างรุนแรง
ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า กระทรวงฯ ต้องเตรียมพร้อมหลายแนวทางไม่ให้เกิดปัญหาไฟดับ ซึ่งต้องยอมรับว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะได้รับผลพวงหากช่วงนั้น ราคานำเข้าก๊าซเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ แนวทางที่เตรียมไว้ ได้แก่ 1.ให้ ปตท.เตรียมศึกษาการขยายการนำเข้าแอลเอ็นจีเทอร์มินอล 1 จาก 11.5 ล้านตัน เป็น 15 ล้านตันต่อปี เพราะปัจจุบันเทอร์มินอล 1 ได้รับการอนุมัติ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีเอชไอเอ) ให้ก่อสร้างได้ถึง 15 ล้านตันอยู่แล้ว 2.เจรจากับมาเลเซียเพื่อขอซื้อก๊าซฯ จากแหล่งเจดีเอในสัดส่วนของมาเลเซีย โดยปัจจุบันนี้ไทยใช้ก๊าซฯ จากแหล่งเจดีเอ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันก็จะต้องเจรจาซื้อก๊าซฯ เจดีเอในส่วนของมาเลเซียระยะสั้น 1 ปี หรือปี 2565 ประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปี 2564-2565 ถ้าประมูลแหล่งสัมปทานหมดอายุล่าช้าจะต้องนำเข้าก๊าซเพิ่ม เป็น 13-14 ล้านตันต่อปีขณะที่คลังนำเข้าแอลเอ็นจีเทอร์มินอล 1 ได้รับอนุมัติขณะนี้มีเพียง 11.5 ล้านตันต่อปี ทางแก้ไขปัญหาก็อาจต้องอนุมัติให้ ปตท.สร้างเพิ่มอีก 3.5 ล้านตัน และเจรจากับมาเลเซียในการขอซื้อก๊าซฯ จากแหล่งเจดีเอมาใช้อีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า กระทรวงฯ ต้องเตรียมพร้อมหลายแนวทางไม่ให้เกิดปัญหาไฟดับ ซึ่งต้องยอมรับว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าก็จะได้รับผลพวงหากช่วงนั้น ราคานำเข้าก๊าซเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ แนวทางที่เตรียมไว้ ได้แก่ 1.ให้ ปตท.เตรียมศึกษาการขยายการนำเข้าแอลเอ็นจีเทอร์มินอล 1 จาก 11.5 ล้านตัน เป็น 15 ล้านตันต่อปี เพราะปัจจุบันเทอร์มินอล 1 ได้รับการอนุมัติ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีเอชไอเอ) ให้ก่อสร้างได้ถึง 15 ล้านตันอยู่แล้ว 2.เจรจากับมาเลเซียเพื่อขอซื้อก๊าซฯ จากแหล่งเจดีเอในสัดส่วนของมาเลเซีย โดยปัจจุบันนี้ไทยใช้ก๊าซฯ จากแหล่งเจดีเอ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันก็จะต้องเจรจาซื้อก๊าซฯ เจดีเอในส่วนของมาเลเซียระยะสั้น 1 ปี หรือปี 2565 ประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปี 2564-2565 ถ้าประมูลแหล่งสัมปทานหมดอายุล่าช้าจะต้องนำเข้าก๊าซเพิ่ม เป็น 13-14 ล้านตันต่อปีขณะที่คลังนำเข้าแอลเอ็นจีเทอร์มินอล 1 ได้รับอนุมัติขณะนี้มีเพียง 11.5 ล้านตันต่อปี ทางแก้ไขปัญหาก็อาจต้องอนุมัติให้ ปตท.สร้างเพิ่มอีก 3.5 ล้านตัน และเจรจากับมาเลเซียในการขอซื้อก๊าซฯ จากแหล่งเจดีเอมาใช้อีกประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน