สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงการากัส ประเทศเวเนซุเอลา เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ว่า ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา ประกาศขยายเวลาการใช้ธนบัตรฉบับละ 100 โบลิวาร์ ออกไปจนถึงวันที่ 2 ม.ค.2560 เช่นเดียวกับการปิดพรมแดนฝั่งโคลอมเบีย หลังเกิดการจลาจล และความวุ่นวายในหลายพื้นที่อันเป็นผลมาจากมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ประกาศยกเลิกใช้ธนบัตรดังกล่าวภายในเวลา 72 ชั่วโมง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งธนาคารไม่สามารถรองรับประชาชนจำนวนมากที่มาเข้าคิวรอเพื่อแลกคืนธนบัตรดังกล่าวได้ โดยรายงานระบุว่าชาวเวเนซุเอลาราวร้อยละ 40 ไม่มีบัญชีทางธนาคาร
ธนบัตรฉบับละ 100 โบลิวาร์ เป็นธนบัตรมูลค่าสูงสุดของเวเนซุเอลา ซึ่งมีหมุนเวียนอยู่ในระบบราวร้อยละ 77 ของเงินทั้งหมด โดยวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจสูงถึงร้อยละ 475 ทำให้ค่าเงินโบลิวาร์ร่วง โดย 100 โบลิวาร์ มีมูลค่าเพียง 15 เซนต์ของดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 บาท) มาตรการที่ประกาศออกมาอย่างกะทันหันของรัฐบาล ทำให้ธนบัตร 100 โบลิวาร์ กลายเป็นเพียงเศษกระดาษที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ เกิดการขาดแคลนเงินสดในระบบหมุนเวียน ยิ่งสร้างความปั่นป่วนจากเดิมที่ประเทศกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นอยู่แล้ว
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดการประท้วงและปล้นร้านค้าในหลายพื้นที่ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะรุนแรงอย่างน้อย 4 ราย มีการประกาศเคอร์ฟิวหรือการห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลาที่กำหนด ในพื้นที่เมืองซิวดัดโบลิวาร์ของรัฐโบลิวาร์ซึ่งมีผู้ถูกจับกุม 135 ราย ขณะที่มีรายงานว่า ประชาชนราว 400 คน พยายามปีนข้ามแนวกั้นของเจ้าหน้าที่บริเวณพรมแดนในรัฐตาชิรา ฝ่าฝืนคำสั่งปิดพรมแดน และข้ามไปยังโคลอมเบียเพื่อซื้อหาอาหาร ยา และของใช้จำเป็น
ด้านประธานาธิบดีมาดูโร กล่าวหาว่าพรรคฝ่ายค้านอยู่เบื้องหลังปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายดังกล่าว
ขณะเดียวกันเผยว่า การที่ยังไม่สามารถนำธนบัตรแบบใหม่ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นหลายเท่า ทั้งฉบับละ 500 โบลิวาร์ 2,000 โบลิวาร์ และ 20,000 โบลิวาร์ จำหน่ายเข้าสู่ระบบได้นั้น เป็นผลมาจากเครื่องบิน 3 ลำ ที่ขนส่งธนบัตรเหล่านี้ถูกก่อกวนจากกลุ่มต่างชาติทำให้ต้องเปลี่ยนเส้นทางบิน ทั้งนี้ รัฐบาลเวเนซุเอลาอ้างว่า มาตรการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อกวาดล้างขบวนการปั่นค่าเงินโดยมาเฟียต่างชาติ
ธนบัตรฉบับละ 100 โบลิวาร์ เป็นธนบัตรมูลค่าสูงสุดของเวเนซุเอลา ซึ่งมีหมุนเวียนอยู่ในระบบราวร้อยละ 77 ของเงินทั้งหมด โดยวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจสูงถึงร้อยละ 475 ทำให้ค่าเงินโบลิวาร์ร่วง โดย 100 โบลิวาร์ มีมูลค่าเพียง 15 เซนต์ของดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 บาท) มาตรการที่ประกาศออกมาอย่างกะทันหันของรัฐบาล ทำให้ธนบัตร 100 โบลิวาร์ กลายเป็นเพียงเศษกระดาษที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ เกิดการขาดแคลนเงินสดในระบบหมุนเวียน ยิ่งสร้างความปั่นป่วนจากเดิมที่ประเทศกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นอยู่แล้ว
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เกิดการประท้วงและปล้นร้านค้าในหลายพื้นที่ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุปะทะรุนแรงอย่างน้อย 4 ราย มีการประกาศเคอร์ฟิวหรือการห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลาที่กำหนด ในพื้นที่เมืองซิวดัดโบลิวาร์ของรัฐโบลิวาร์ซึ่งมีผู้ถูกจับกุม 135 ราย ขณะที่มีรายงานว่า ประชาชนราว 400 คน พยายามปีนข้ามแนวกั้นของเจ้าหน้าที่บริเวณพรมแดนในรัฐตาชิรา ฝ่าฝืนคำสั่งปิดพรมแดน และข้ามไปยังโคลอมเบียเพื่อซื้อหาอาหาร ยา และของใช้จำเป็น
ด้านประธานาธิบดีมาดูโร กล่าวหาว่าพรรคฝ่ายค้านอยู่เบื้องหลังปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายดังกล่าว
ขณะเดียวกันเผยว่า การที่ยังไม่สามารถนำธนบัตรแบบใหม่ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นหลายเท่า ทั้งฉบับละ 500 โบลิวาร์ 2,000 โบลิวาร์ และ 20,000 โบลิวาร์ จำหน่ายเข้าสู่ระบบได้นั้น เป็นผลมาจากเครื่องบิน 3 ลำ ที่ขนส่งธนบัตรเหล่านี้ถูกก่อกวนจากกลุ่มต่างชาติทำให้ต้องเปลี่ยนเส้นทางบิน ทั้งนี้ รัฐบาลเวเนซุเอลาอ้างว่า มาตรการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อกวาดล้างขบวนการปั่นค่าเงินโดยมาเฟียต่างชาติ