นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อมวลชนว่ากระทรวงเกษตรของเกาหลีใต้ ประกาศเตือนภัยไข้หวัดนกเป็นระดับสูงสุด เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. หลังมีการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 นั้น ในส่วนของประเทศไทยนั้นหลังจากที่มีการระบาดไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ไปเมื่อปี 2549 แล้วนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการเฝ้าระวังโรคทั้งในคน ในสัตว์ และในสัตว์ปีกธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่พบผู้ป่วยอีกเลย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฤดูหนาวเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้ง่าย ดังนั้นแม้จะไม่พบผู้ป่วยมานาน แต่ต้องไม่ประมาท กระทรวงฯ จึงได้กำชับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศให้ดำเนิน 4 มาตรการป้องกันโรค คือ 1.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ทั้งในคนและในสัตว์ ประสานงานปศุสัตว์และหน่วยงานของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ในพื้นที่ หากพบการระบาดในสัตว์ให้แจ้งเตือนโรงพยาบาลในพื้นที่ทันที เพื่อเตรียมพร้อมด้านการรักษาพยาบาล
2.ให้อาสาสมัครสาธารณสุข เฝ้าระวังหากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งแจ้งเตือนประชาชนป้องกันการติดเชื้อ โดยไม่นำเอาสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายมาชำแหละหรือรับประทาน กรณีพบผู้ป่วยสงสัย คือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ร่วมกับมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก หรือมีประวัติว่าอาศัย หรือเคยไปในพื้นที่ระบาดของโรค จะต้องแนะนำให้พบแพทย์ทันที 3.ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดนกให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ให้คำแนะนำแก่ผู้เดินทางไปพื้นที่มีรายงานผู้ป่วยหรือสัตว์ปีกติดเชื้อ
และ 4.เผยแพร่ข้อมูลความรู้และแนวทางในการคัดกรองและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข ให้แพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดทราบอย่างทั่วถึง และสั่งให้บุคลากรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ขอแนะนำประชาชนในเรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก โดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนและหลังปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด ไม่นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือป่วยตายมารับประทานเด็ดขาด ในกรณีที่รับประทานเป็ดไก่นั้น ขอให้มีการชำแหละอย่างระมัดระวัง และปรุงให้สุกทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีก ไม่ให้เด็กเข้าใกล้สัตว์ป่วย และหากมีสัตว์ปีกตายผิดปกติ ให้แจ้งอาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้นำชุมชนทันที เพื่อทำลายซากสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี และจำกัดการแพร่ระบาดระบาดของโรค สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาดของโรคนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อห้ามในการเดินทาง แต่ขอให้ระมัดระวังไม่เข้าไปใกล้สัตว์ปีก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย และมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ปีกให้สวมหน้ากากอนามัย รีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฤดูหนาวเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้ง่าย ดังนั้นแม้จะไม่พบผู้ป่วยมานาน แต่ต้องไม่ประมาท กระทรวงฯ จึงได้กำชับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศให้ดำเนิน 4 มาตรการป้องกันโรค คือ 1.เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในพื้นที่ทั้งในคนและในสัตว์ ประสานงานปศุสัตว์และหน่วยงานของกรมอุทยานแห่งชาติฯ ในพื้นที่ หากพบการระบาดในสัตว์ให้แจ้งเตือนโรงพยาบาลในพื้นที่ทันที เพื่อเตรียมพร้อมด้านการรักษาพยาบาล
2.ให้อาสาสมัครสาธารณสุข เฝ้าระวังหากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งแจ้งเตือนประชาชนป้องกันการติดเชื้อ โดยไม่นำเอาสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายมาชำแหละหรือรับประทาน กรณีพบผู้ป่วยสงสัย คือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ร่วมกับมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก หรือมีประวัติว่าอาศัย หรือเคยไปในพื้นที่ระบาดของโรค จะต้องแนะนำให้พบแพทย์ทันที 3.ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้หวัดนกให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ให้คำแนะนำแก่ผู้เดินทางไปพื้นที่มีรายงานผู้ป่วยหรือสัตว์ปีกติดเชื้อ
และ 4.เผยแพร่ข้อมูลความรู้และแนวทางในการคัดกรองและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดนก ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข ให้แพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดทราบอย่างทั่วถึง และสั่งให้บุคลากรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ขอแนะนำประชาชนในเรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก โดยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนและหลังปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด ไม่นำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือป่วยตายมารับประทานเด็ดขาด ในกรณีที่รับประทานเป็ดไก่นั้น ขอให้มีการชำแหละอย่างระมัดระวัง และปรุงให้สุกทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีก ไม่ให้เด็กเข้าใกล้สัตว์ป่วย และหากมีสัตว์ปีกตายผิดปกติ ให้แจ้งอาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้นำชุมชนทันที เพื่อทำลายซากสัตว์ปีกอย่างถูกวิธี และจำกัดการแพร่ระบาดระบาดของโรค สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาดของโรคนั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อห้ามในการเดินทาง แต่ขอให้ระมัดระวังไม่เข้าไปใกล้สัตว์ปีก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย และมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ปีกให้สวมหน้ากากอนามัย รีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด24 ชั่วโมง