พ.อ.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ อพท. ได้จัดทำแผนงานในภารกิจหลักระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) เพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงตอบสนองยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 คือ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สำหรับระยะ 5 ปีแรก ได้กำหนดกรอบการดำเนินงาน โดยจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของโลก (GSTC) ภายใต้องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ ได้ออกข้อกำหนดไว้ พร้อมขับเคลื่อนแผนการพัฒนาเขตพัฒนาการท่องเที่ยว หรือ คลัสเตอร์ ซึ่งในส่วนนี้ อพท. จะเข้าทำการบริหารจัดการพื้นที่ในแต่ละคลัสเตอร์ด้านการท่องเที่ยวทั้ง 8 คลัสเตอร์ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย อพท. จะมีบทบาทเป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งจะมีผลทันทีหลังจากร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกาผ่านมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนมกราคม 2560
พ.อ.นาฬิกอติภัค กล่าวอีกว่า อพท. ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายผลการพัฒนาชุมชนต้นแบบ จาก 200 ชุมชน เป็น 1,000 ชุมชน ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานของชุมชนต้นแบบ จะต้องประกอบด้วย ปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่พิเศษผ่านเกณฑ์การประเมินระดับความอยู่ดีมีสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 รายได้เสริมจากการท่องเที่ยวของประชาชนในพื้นที่พิเศษเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ค่าความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนในพื้นที่พิเศษลดลงเหลือ 0.31 จาก 0.41 ในปัจจุบัน การจ้างแรงงานในพื้นที่พิเศษเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เศรษฐกิจของแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 และทุกขั้นตอนการดำเนินงานบูรณาการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและบูรณาการงบประมาณ
พ.อ.นาฬิกอติภัค กล่าวอีกว่า อพท. ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายผลการพัฒนาชุมชนต้นแบบ จาก 200 ชุมชน เป็น 1,000 ชุมชน ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานของชุมชนต้นแบบ จะต้องประกอบด้วย ปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่พิเศษผ่านเกณฑ์การประเมินระดับความอยู่ดีมีสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 รายได้เสริมจากการท่องเที่ยวของประชาชนในพื้นที่พิเศษเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ค่าความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของประชาชนในพื้นที่พิเศษลดลงเหลือ 0.31 จาก 0.41 ในปัจจุบัน การจ้างแรงงานในพื้นที่พิเศษเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เศรษฐกิจของแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 และทุกขั้นตอนการดำเนินงานบูรณาการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและบูรณาการงบประมาณ