นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแลการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านทางโทรศัพท์ และดูแลการบังคับเสนอขายพ่วงประกันผ่านเจ้าหน้าที่ธนาคาร โดยในส่วนนี้จะต้องนำเข้าเสนอไปแก้ไขในชั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
อย่างไรก็ตาม ครม.ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันชีวิต และร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย เพื่อเป็นการปฏิรูปภาพรวมประกันภัย ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ให้มีบทบัญญัติที่คุ้มครองประชาชนจากการฉ้อฉลประกันภัย จึงมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวแทนประกันภัย นายหน้าประกันภัย ตลอดจนผู้ประเมินวินาศภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
สำหรับสาระสำคัญมี 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การป้องกันการฉ้อฉลประกันภัยมี 3 กรณี คือ การหลอกลวงค่าประกัน โดยชักชวนทำประกันแต่ถึงเวลาส่งค่าเบี้ยประกัน ตัวแทนกลับไม่ส่งเงินประกันเข้าบริษัท การสร้างหลักฐานเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ และการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีการจ่ายค่าสินไหมให้กับผู้เอาประกัน โดยจะมีการเพิ่มบทลงโทษจากเดิมที่สามารถยอมความกันได้ แต่หากปรับปรุงแก้ไขแล้วในกรณียอมความ แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. สามารถเอาผิดต่อไปได้
2.เป็นการกำกับดูแลตัวแทนประกันจากปัจจุบันที่มี 3 แสนคน โดยแก้ไขคุณสมบัติจากเดิมกำกับดูแลผ่านบริษัทประกัน เป็น คปภ.กำกับดูแลโดยตรง มีหลักเกณฑ์โดยตัวแทน นายหน้าประกัน จะต้องไม่มีประวัติเสียหาย ไม่แสดงการขาดความรับผิดชอบ
3.เรื่องงบบุคคลประเมินวินาศภัย เช่น ไฟไหม้บ้าน หรือการเกิดอุบัติเหตุ เปลี่ยนแปลงจากเดิมผู้ประเมินจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา มาเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีสังกัดภายใต้บริษัทนิติบุคคลประเมินวินาศภัย และ 4.จะมีการปกป้องคุ้มครองในธุรกิจประกันภัยในการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
อย่างไรก็ตาม ครม.ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันชีวิต และร่าง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย เพื่อเป็นการปฏิรูปภาพรวมประกันภัย ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ให้มีบทบัญญัติที่คุ้มครองประชาชนจากการฉ้อฉลประกันภัย จึงมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวแทนประกันภัย นายหน้าประกันภัย ตลอดจนผู้ประเมินวินาศภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
สำหรับสาระสำคัญมี 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การป้องกันการฉ้อฉลประกันภัยมี 3 กรณี คือ การหลอกลวงค่าประกัน โดยชักชวนทำประกันแต่ถึงเวลาส่งค่าเบี้ยประกัน ตัวแทนกลับไม่ส่งเงินประกันเข้าบริษัท การสร้างหลักฐานเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ และการเรียกรับสินบนของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีการจ่ายค่าสินไหมให้กับผู้เอาประกัน โดยจะมีการเพิ่มบทลงโทษจากเดิมที่สามารถยอมความกันได้ แต่หากปรับปรุงแก้ไขแล้วในกรณียอมความ แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. สามารถเอาผิดต่อไปได้
2.เป็นการกำกับดูแลตัวแทนประกันจากปัจจุบันที่มี 3 แสนคน โดยแก้ไขคุณสมบัติจากเดิมกำกับดูแลผ่านบริษัทประกัน เป็น คปภ.กำกับดูแลโดยตรง มีหลักเกณฑ์โดยตัวแทน นายหน้าประกัน จะต้องไม่มีประวัติเสียหาย ไม่แสดงการขาดความรับผิดชอบ
3.เรื่องงบบุคคลประเมินวินาศภัย เช่น ไฟไหม้บ้าน หรือการเกิดอุบัติเหตุ เปลี่ยนแปลงจากเดิมผู้ประเมินจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา มาเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีสังกัดภายใต้บริษัทนิติบุคคลประเมินวินาศภัย และ 4.จะมีการปกป้องคุ้มครองในธุรกิจประกันภัยในการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์