นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ก.ปภช.) ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส จ.ระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.สตูล โดยมีเนื้อหาระบุว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศเรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ตอนล่าง และคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ จึงขอแจ้งแนวทางการดำเนินการเพิ่มเติม โดยกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการให้ชัดเจน แบ่งเป็นพื้นที่ประสบภัย พื้นที่เสี่ยง ได้รับผลกระทบและพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในระยะยาว ระบุเป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครัวเรือนให้ชัดเจน
ขณะเดียวกัน ให้กำหนดวิธีช่วยเหลือหรือบรรเทาภัยให้เหมาะสมตามสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่เกิดเหตุ สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่
นอกจากนี้ ให้กำหนดพื้นที่ หรือโซนนิ่ง ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย แบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน และกำหนดผู้รับผิดชอบในการประสานการปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อลดความซ้ำซ้อน สามารถช่วยเหลือได้ทั่วถึงถูกต้องตามข้อเท็จจริง และความต้องการของประชาชน รวมถึงให้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบและประเด็นการรายงานสถานการณ์ การแก้ไขปัญหา ให้ความช่วยเหลือ แนวโน้มสถานการณ์และเตรียมความพร้อมรับมือให้กองอำนวยการฯกลางทุก 3 ชั่วโมง เพื่อทราบข้อเท็จจริง และสามารถสั่งการ สนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ได้
ขณะเดียวกัน กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการให้ข้อมูลข่าวสารต่อสื่อมวลชน และสาธารณชนให้ชัดเจน โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง ทุกระยะ เพื่อสร้างความถูกต้องและเป็นเอกภาพด้านข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริง ป้องกันปัญหาการร้องเรียนในพื้นที่ ลดความตื่นตระหนก และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ประสบภัย หรือประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเน้นย้ำผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการเข้าไปยังพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์เป็นประจำ และบัญชาการเหตุการณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นต่อผู้ประสบภัย ตลอดจนประเมินสถานการณ์ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงาน
ขณะเดียวกัน ให้กำหนดวิธีช่วยเหลือหรือบรรเทาภัยให้เหมาะสมตามสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่เกิดเหตุ สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่
นอกจากนี้ ให้กำหนดพื้นที่ หรือโซนนิ่ง ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย แบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน และกำหนดผู้รับผิดชอบในการประสานการปฏิบัติงานแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน เพื่อลดความซ้ำซ้อน สามารถช่วยเหลือได้ทั่วถึงถูกต้องตามข้อเท็จจริง และความต้องการของประชาชน รวมถึงให้กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบและประเด็นการรายงานสถานการณ์ การแก้ไขปัญหา ให้ความช่วยเหลือ แนวโน้มสถานการณ์และเตรียมความพร้อมรับมือให้กองอำนวยการฯกลางทุก 3 ชั่วโมง เพื่อทราบข้อเท็จจริง และสามารถสั่งการ สนับสนุนการปฏิบัติในพื้นที่ได้
ขณะเดียวกัน กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในการให้ข้อมูลข่าวสารต่อสื่อมวลชน และสาธารณชนให้ชัดเจน โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง ทุกระยะ เพื่อสร้างความถูกต้องและเป็นเอกภาพด้านข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริง ป้องกันปัญหาการร้องเรียนในพื้นที่ ลดความตื่นตระหนก และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ประสบภัย หรือประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเน้นย้ำผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น ให้ความสำคัญในการเข้าไปยังพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์เป็นประจำ และบัญชาการเหตุการณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นต่อผู้ประสบภัย ตลอดจนประเมินสถานการณ์ แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงาน