นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดเผยว่า กปภ.ตระหนักถึงหน้าที่สำคัญในการรับผิดชอบการจัดหา การผลิต และการให้บริการน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคแก่ประชาชน โดยตลอดระยะเวลา 37 ปี ที่ กปภ.ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย กปภ. สามารถพัฒนาระบบประปาที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้บริการประชาชนผ่านการดำเนินงานของ กปภ. 234 สาขา ในพื้นที่ 74 จังหวัด และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ รวมกว่า 4 ล้านราย หรือประมาณร้อยละ 22 ของประเทศ สำหรับปี 2560 กปภ.มีแผนเร่งรัดโครงการขยายเขตการให้บริการน้ำประปาเพิ่มในพื้นที่ต่างๆ ทั้งเชิงนโยบาย เพื่อรองรับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตามแผนงานของรัฐบาล รวมถึงการพัฒนาระบบประปาเชิงสังคม
ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่ายังมีหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปาใช้ประมาณ 1,900 หมู่บ้าน ซึ่ง กปภ.เร่งตอบสนองการบริการในพื้นที่เหล่านั้น โดยขยายเขตไปยังหมู่บ้านแล้ว 40 หมู่บ้าน และอยู่ระหว่างการเตรียมแผนการขยายเขตเพิ่มอีก 450 หมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีประชาชนที่ใช้บริการน้ำประปาจากหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. ประปาหมู่บ้าน ซึ่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และความเชี่ยวชาญ โดย กปภ.จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เทคโนโลยี รวมถึงการร่วมลงทุนด้านการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำในเขต อปท. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ ต้องผ่านความเห็นชอบตามมติของประชาคมที่อนุญาตให้ กปภ.เข้าไปให้บริการและบริหารจัดการแหล่งน้ำ ถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือตามกลไกประชารัฐ เพื่อพัฒนาความเจริญโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่ายังมีหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปาใช้ประมาณ 1,900 หมู่บ้าน ซึ่ง กปภ.เร่งตอบสนองการบริการในพื้นที่เหล่านั้น โดยขยายเขตไปยังหมู่บ้านแล้ว 40 หมู่บ้าน และอยู่ระหว่างการเตรียมแผนการขยายเขตเพิ่มอีก 450 หมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีประชาชนที่ใช้บริการน้ำประปาจากหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล อบต. ประปาหมู่บ้าน ซึ่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และความเชี่ยวชาญ โดย กปภ.จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เทคโนโลยี รวมถึงการร่วมลงทุนด้านการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำในเขต อปท. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ ต้องผ่านความเห็นชอบตามมติของประชาคมที่อนุญาตให้ กปภ.เข้าไปให้บริการและบริหารจัดการแหล่งน้ำ ถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือตามกลไกประชารัฐ เพื่อพัฒนาความเจริญโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน