ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดให้พฤศจิกายนของทุกปี เป็นสัปดาห์รณรงค์สร้างความตระหนักเรื่องเชื้อดื้อยาและการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 14-20 พฤศจิกายน มุ่งให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลก เพิ่มความตระหนักในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล มีการควบคุมการติดเชื้อที่ดี รวมไปถึงการดูแลสุขอนามัยของมือ การตรวจคัดกรอง และการแยกผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล ขณะนี้ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก เชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ปรับตัวจนดื้อต่อยาต้านจุลชีพเกือบทุกชนิด หากไม่เร่งแก้ไข โลกจะเข้าสู่ยุค Post-antibiotic era คือ กลับสู่ยุคที่คนจะตายจากโรคติดเชื้อแบคทีเรียอีกครั้ง แม้จะมียาปฏิชีวนะแต่เนื่องจากเชื้อดื้อยาจึงรักษาไม่หาย คาดว่าในปี 2593 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากปัญหาเชื้อดื้อยารวม 10 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในทวีปเอเชียมากที่สุดถึง 4.7 ล้านคน และยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ต่อการปศุสัตว์ การประมง การเพาะปลูก การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ จากการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาข้ามพรมแดนผ่านการเคลื่อนย้ายของคน สัตว์ และสินค้าทางการเกษตร
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อสิงหาคม 2559 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1.การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ 2.การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ 3. การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในสถานพยาบาลและร้านยา 4. การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง 5.การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเรื่องเชื้อดื้อยาและยาต้านจุลชีพ 6.การพัฒนาโครงสร้าง และกลไกของการทำงานเชิงบูรณาการ การติดตามประเมินผล และประสานความร่วมมือภายในประเทศและต่างประเทศในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มีเป้าหมาย ลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 ลดการใช้ยาต้านจุลชีพในคนและในสัตว์ลงร้อยละ 20 และ 30 และประชาชนมีความตระหนักรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 20 ภายใน 5 ปี
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อสิงหาคม 2559 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1.การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ 2.การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ 3. การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในสถานพยาบาลและร้านยา 4. การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง 5.การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเรื่องเชื้อดื้อยาและยาต้านจุลชีพ 6.การพัฒนาโครงสร้าง และกลไกของการทำงานเชิงบูรณาการ การติดตามประเมินผล และประสานความร่วมมือภายในประเทศและต่างประเทศในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มีเป้าหมาย ลดการป่วยจากเชื้อดื้อยาร้อยละ 50 ลดการใช้ยาต้านจุลชีพในคนและในสัตว์ลงร้อยละ 20 และ 30 และประชาชนมีความตระหนักรู้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 20 ภายใน 5 ปี