น.พ.อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า สถานการณ์ของไข้มาเลเรียถือว่าจังหวัดยะลาติด 1 ใน 3 ของประเทศ มีระบาดหนักอยู่ใน 4 อำเภอ คือ ธารโต บันนังสตา กาบัง และยะหา สำหรับไข้มาเลเรีย สาเหตุเกิดจากยุงคนละตัวกับไข้เลือดออก จะเกิดจากยุงก้นปล่อง ในป่าในเขา ไม่ใช่ยุงลาย พื้นที่ที่พบการระบาดก็จะเป็นพื้นที่ชายป่า ชายเขา
ส่วนแหล่งนำโรคมาเลเรียจะต่างจากไข้เลือดออกคือ ไข้มาเลเรียจะมีแหล่งนำโรคจากคน เชื้ออยู่ในคน แต่บางคนไม่แสดงอาการ จากการลงพื้นที่สุ่มเจาะเลือดในหมู่บ้าน ชาวบ้าน 400 กว่าคน จะพบเชื้อมาเลเรีย 200 กว่าคน หรือกว่าครึ่งหนึ่งของหมู่บ้าน โดยสิ่งที่ทางสาธารณสุขจังหวัดยะลา ดำเนินการอยู่ในขณะนี้คือหาแหล่งนำโรค แล้วให้ยาฆ่าเชื้อไปกิน มีการพ่นยา แต่ปัญหาที่เจอคือ ชาวบ้านไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ไปพ่นยา เนื่องจากชาวบ้านกลัวว่าจะมีปัญหากับนกที่เลี้ยงไว้ ส่วนการเจาะเลือดก็จะพบตัวเชื้ออยู่ 2 ตัว ตัวหนึ่งกินยา 3 วัน ส่วนอีกตัวต้องกินยา 14 วัน ตัวที่ต้องกินยา 14 วัน โดยคาดว่าจะลดอัตราการป่วยไข้มาเลเรีย ลงไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2560 ซึ่งตัวเลขผู้ป่วยที่พบใน4อำเภอดังกล่าว มีประมาณ 2,500 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่ อำเภอกาบัง
ส่วนแหล่งนำโรคมาเลเรียจะต่างจากไข้เลือดออกคือ ไข้มาเลเรียจะมีแหล่งนำโรคจากคน เชื้ออยู่ในคน แต่บางคนไม่แสดงอาการ จากการลงพื้นที่สุ่มเจาะเลือดในหมู่บ้าน ชาวบ้าน 400 กว่าคน จะพบเชื้อมาเลเรีย 200 กว่าคน หรือกว่าครึ่งหนึ่งของหมู่บ้าน โดยสิ่งที่ทางสาธารณสุขจังหวัดยะลา ดำเนินการอยู่ในขณะนี้คือหาแหล่งนำโรค แล้วให้ยาฆ่าเชื้อไปกิน มีการพ่นยา แต่ปัญหาที่เจอคือ ชาวบ้านไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ไปพ่นยา เนื่องจากชาวบ้านกลัวว่าจะมีปัญหากับนกที่เลี้ยงไว้ ส่วนการเจาะเลือดก็จะพบตัวเชื้ออยู่ 2 ตัว ตัวหนึ่งกินยา 3 วัน ส่วนอีกตัวต้องกินยา 14 วัน ตัวที่ต้องกินยา 14 วัน โดยคาดว่าจะลดอัตราการป่วยไข้มาเลเรีย ลงไม่ต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2560 ซึ่งตัวเลขผู้ป่วยที่พบใน4อำเภอดังกล่าว มีประมาณ 2,500 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่ อำเภอกาบัง