นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าสถานธนานุบาล (สธก.) ได้รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2559 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2559 เบื้องต้นมียอดจำนำอยู่ที่ 7,261.73 ล้านบาท ยอดไถ่ถอน 7,090.75 ล้านบาท ทรัพย์จำนำคงค้าง 2,686.38 ล้านบาท ทรัพย์รับจำนำอยู่ที่ 2,165.43 ล้านบาท ทรัพย์หลุดจำนำ 520.95 ล้านบาท ขณะที่การจำหน่ายทรัพย์หลุด อยู่ที่ 308.68 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับจำนำอยู่ที่ 291.05 ล้านบาท กำไรทรัพย์หลุด อยู่ที่ 56.93 ล้านบาท ธนาคารรายได้เบ็ดเตล็ด 6.51 ล้านบาท รายรับ 354.50 ล้านบาท รายจ่าย 120.57 ล้านบาท ทำให้ได้กำไรเบื้องต้น 233.93 ล้านบาท ขณะที่กำไรปีงบประมาณ 2558 อยู่ที่ 230.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.66
นางวรรณวิไล กล่าวต่อว่า สถานธนานุบาลกทม.ได้ประมาณการรายรับประจำปีงบประมาณพ.ศ.2560 รวมทั้งสิ้น 416,350,000 บาท แบ่งเป็นดอกเบี้ยรับจำนำอยู่ที่ 365,750,000 บาท กำไรจำหน่ายทรัพย์หลุดอยู่ที่ 47,300,000 บาท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารอยู่ที่ 3,300,000 บาท อย่างไรก็ตามปัจจุบันสธก.มีสาขากระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวนทั้งสิ้น 21 สาขา ใน 20 เขต ซึ่งกทม.มีแผนจะขยายครอบคลุมให้ครบพื้นที่ 50 เขต โดยจะเพิ่มสถานธนานุบาลในเขตที่ยังไม่มี อีก 30 แห่ง ในพื้นที่ 30 เขต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 แห่ง โดยแห่งแรกจะอยู่ภายในพื้นที่ของโรงพยาบาลเจริญกรุง และแห่งที่สอง ภายในพื้นที่เขตประเวศ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผู้ที่มาใช้บริการสถานธนานุบาลเป็นผู้ที่มีปัญหาทางการเงิน จึงจำเป็นต้องนำสิ่งของต่าง ๆ มาจำนำ กทม.ต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน คาดว่าจะเปิดบริการประชาชนได้ ภายในปี 2560
นางวรรณวิไล กล่าวต่อว่า สถานธนานุบาลกทม.ได้ประมาณการรายรับประจำปีงบประมาณพ.ศ.2560 รวมทั้งสิ้น 416,350,000 บาท แบ่งเป็นดอกเบี้ยรับจำนำอยู่ที่ 365,750,000 บาท กำไรจำหน่ายทรัพย์หลุดอยู่ที่ 47,300,000 บาท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารอยู่ที่ 3,300,000 บาท อย่างไรก็ตามปัจจุบันสธก.มีสาขากระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวนทั้งสิ้น 21 สาขา ใน 20 เขต ซึ่งกทม.มีแผนจะขยายครอบคลุมให้ครบพื้นที่ 50 เขต โดยจะเพิ่มสถานธนานุบาลในเขตที่ยังไม่มี อีก 30 แห่ง ในพื้นที่ 30 เขต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ 2 แห่ง โดยแห่งแรกจะอยู่ภายในพื้นที่ของโรงพยาบาลเจริญกรุง และแห่งที่สอง ภายในพื้นที่เขตประเวศ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผู้ที่มาใช้บริการสถานธนานุบาลเป็นผู้ที่มีปัญหาทางการเงิน จึงจำเป็นต้องนำสิ่งของต่าง ๆ มาจำนำ กทม.ต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน คาดว่าจะเปิดบริการประชาชนได้ ภายในปี 2560