วันนี้ (9 พ.ย.) ราษฎรบนพื้นที่สูง 9 ชนเผ่า ประกอบด้วย กะเหรี่ยง 249 คน ม้ง 207 คน ลาหู่ 99 คน อาข่า 99 คน เมี่ยน 99 คน ลีซู 99 คน ลัวะ 49 คน ขมุ 49 คน ถิ่น 49 คน รวม 999 คน จาก 20 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ เลย เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี ลำปาง ลำพูน อุทัยธานี และสุพรรณบุรี ซึ่งในจำนวนนี้ มีจำนวนหนึ่งที่เป็นบุคคลในภาพที่เคยร่วมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ จำนวน 9 เหตุการณ์แห่งความทรงจำ เดินทางเข้ากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยตั้งขบวนบริเวณหน้าศาลหลักเมือง ก่อนเดินเข้าทางประตูมณีนพรัตน์ เลี้ยวขวาผ่านหน้าศาลาสหทัย เลี้ยวซ้ายผ่านประตูสุวรรณบริบาล แล้วขึ้นกราบสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเดินออกทางประตูเทวาภิรมย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราษฎรบนพื้นที่สูงทั้งหมดต่างพร้อมใจกันสวมชุดชนเผ่าเพื่อแสดงความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างหาที่สุดไม่ได้ โดยหลังจากเข้าสักการะพระบรมศพ ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท หลายคนอยู่ในความโศกเศร้า และถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ต่อการสูญเสียมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในใจของชาวไทยภูเขาทุกคน
นายศักดิ์ดา ปัญญาหาญ อายุ 54 ปี ชาวกะเหรี่ยง ทายาทของนายคะ ปัญญาหาญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ บุคคลในภาพที่เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2512 เปิดเผยว่า ในช่วงชีวิตของตนได้มีโอกาสรับเสด็จพระองค์ท่านถึง 5 ครั้งด้วยกัน ซึ่งครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 พระองค์ได้เสด็จฯ มายังหมู่บ้านเป็นครั้งแรก โดยขณะนั้นตนยังเด็กอาจจะยังจำความไม่ค่อยได้ แต่คุณพ่อก็ได้เล่าให้ถึงความประทับใจในความไม่ถือตัวและเป็นกันเองของพระองค์ว่า พระองค์ให้คุณพ่อร่วมโต๊ะเสวยอาหารด้วย แรกๆ คุณพ่อก็เกร็งๆ และไม่กล้า ด้วยความที่พระองค์ท่านเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน แต่พระองค์ก็แสดงความเป็นกันเองอย่างไม่ถือพระองค์ โดยทรงตักข้าวในห่อของพระองค์มาใส่ในห่อของคุณพ่อ พร้อมรับสั่งว่า ลองกินดูสิ จะได้รู้ว่าข้าวในเมืองกับข้าวในป่าต่างกันหรือไม่ นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ตามเสด็จด้วยยังได้ทรงปอกเปลือกส้มให้คุณพ่อลองรับประทานดู ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ที่คุณพ่อจดจำไม่มีวันลืม
พระองค์ยังได้เสด็จฯ มายังหมู่บ้านอีกหลายครั้ง โดยครั้งที่ 2 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ทำการย้ายหมู่บ้านจากป่าละอู ไปยังหมู่บ้านฟ้าประทาน เพื่อหนีจากภัยความรุนแรงและการต่อสู้จากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งครั้งนี้พระองค์ยังได้พระราชทานบ้านให้แก่คุณพ่อ ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน โดยรับสั่งให้ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ พระองค์ก็เสด็จฯ มาเปิดบ้านด้วยพระองค์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของครอบครัวปัญญาหาญ รวมทั้งพระองค์ยังทรงเมตตาต่อประชาชนในหมู่บ้าน โดยได้รับสั่งว่า จะนำความเจริญ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่ดิน และถนนหนทางมาสู่หมู่บ้าน ซึ่งหลังจากนั้นไฟฟ้า ประปา ที่ดิน และถนนก็ค่อยๆ เกิดขึ้นจริงจนเสร็จสมบูรณ์ ภายใน 3 ปี เรียกว่า โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ โดยพระองค์ได้เสด็จฯ มาครั้งที่ 3 เพื่อทำการเปิดโครงการดังการ ซึ่งโครงการดังกล่าวนำมาสู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงจากการต่อสู้จากภัยคอมมิวนิสต์และนำความสงบกับมาสู่ชีวิตชาวกะเหรี่ยงอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ พระองค์ยังเสด็จฯ มายังอีกหมู่บ้านเพื่อติดตามโครงการอีก 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 5 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายพระองค์เสด็จฯ มาในปี 2557 ขณะเสด็จฯ ประทับที่พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแม้พระองค์จะทรงประชวร แต่ก็ยังให้ความเมตตาแก่ชาวบ้าน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ที่พระองค์นำความเจริญมาสู่ชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านฟ้าประทาน
"เมื่อทราบข่าวว่า พระองค์สวรรคต ก็รู้สึกใจหาย รู้สึกหวิวๆ เหมือนญาติผู้ใหญ่อันเป็นที่รักได้จากไป เพราะพระองค์ท่าน มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวกะเหรี่ยงอย่างมาก ซึ่งหลังจากพระองค์ได้เสด็จมายังหมู่บ้าน และดำเนินโครงการสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ก็ได้ช่วยแก้ไขภาพลักษณ์ของชาวเขา ต่อสายตาเจ้าหน้าที่ให้ไม่มองชาวเขาเป็นผู้ก่อความไม่สงบ เป็นพวกคอมมิวนิสต์อีกต่อไป รวมทั้งยังมีโครงการพัฒนาต่างๆ มีการตัดถนน ติดตั้งไฟฟ้า นำประปา กระจายที่ดินให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งหลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้วก็ไม่รู้ว่าชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบ้านฟ้าประทาน จากนี้ไปจะเป็นเช่นไร" นายศักดิ์ดา กล่าว
ส่วนหนึ่งในบุคคลในภาพ คือ นายเจริญ ไชยกอ ชาวเขาชนเผ่าลาหู่ ผู้เคยเข้าเฝ้าฯ ถวายของที่ระลึก เมื่อครั้งเสด็จฯ บ้านห้วยลึก ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2527 ซึ่งภาพเหตุการณ์ของนายเจริญ ได้ถูกจัดพิมพ์เป็นด้านหลังธนบัตรฉบับละ 100 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เปิดเผยว่า เคยได้รับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 ประมาณ 5-6 ครั้ง ครั้งแรกตอนปี พ.ศ.2513 ยังเป็นนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับพระราชทานสมุด ดินสอ และลูกอม จากพระหัตถ์พระองค์ท่าน เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปพระราชทานแกะ ไก่ หมู ลิ้นจี้ และพันธุ์ผลไม้เมืองหนาว มาให้คุณพ่อ (จะฟะ ไชยกอ) เพื่อให้ส่งเสริมนำไปชาวเขาได้นำไปเลี้ยง ไปปลูก เลี้ยงชีพตัวเองได้
จากนั้น ในปี พ.ศ.2515 พระองค์ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกชา กาแฟ และไม้เมืองหนาวเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้ชาวเขาปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งคุณพ่อได้รับคัดเลือกจากกองกำกับการ ตชด.เขต5 ค่ายดารารัศมี (ชื่อขณะนั้น) ให้ไปอบรมเรื่องการเกษตร แล้วนำไปแนะนำต่อให้ชาวเขา ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องการทำเกษตร ท่านทรงให้เราเตรียมความพร้อม กระทั่งปี พ.ศ.2526 คุณพ่อเสียชีวิต จึงได้พาน้องๆ ไปเข้าเฝ้าฯ เมื่อครั้งท่านเสด็จฯ ที่ห้วยลึก อ.เชียงดาว ปี พ.ศ.2527 พระองค์ทรงมีรับสั่งว่า "ใครลูกจะฟะ ฉันเสียใจด้วย ฉันกับจะฟะรู้จักกันมานาน โครงการที่ให้ทำ ให้นำไปสานต่อ" กว่า 50 ปีที่พระองค์ทรงส่งเสริม วางแผน พัฒนา สร้างร้านค้าในพระบรมราชานุเคราะห์ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้เรามีร้านวางจำหน่ายสินค้าเกษตร และติดตามทุกโครงการที่พระราชทานให้แก่พวกเรา ทำให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น แม้ต้องใช้เวลานาน แต่ก็มีความยั่งยืน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราษฎรบนพื้นที่สูงทั้งหมดต่างพร้อมใจกันสวมชุดชนเผ่าเพื่อแสดงความเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างหาที่สุดไม่ได้ โดยหลังจากเข้าสักการะพระบรมศพ ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท หลายคนอยู่ในความโศกเศร้า และถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ต่อการสูญเสียมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในใจของชาวไทยภูเขาทุกคน
นายศักดิ์ดา ปัญญาหาญ อายุ 54 ปี ชาวกะเหรี่ยง ทายาทของนายคะ ปัญญาหาญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ บุคคลในภาพที่เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี 2512 เปิดเผยว่า ในช่วงชีวิตของตนได้มีโอกาสรับเสด็จพระองค์ท่านถึง 5 ครั้งด้วยกัน ซึ่งครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2512 พระองค์ได้เสด็จฯ มายังหมู่บ้านเป็นครั้งแรก โดยขณะนั้นตนยังเด็กอาจจะยังจำความไม่ค่อยได้ แต่คุณพ่อก็ได้เล่าให้ถึงความประทับใจในความไม่ถือตัวและเป็นกันเองของพระองค์ว่า พระองค์ให้คุณพ่อร่วมโต๊ะเสวยอาหารด้วย แรกๆ คุณพ่อก็เกร็งๆ และไม่กล้า ด้วยความที่พระองค์ท่านเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน แต่พระองค์ก็แสดงความเป็นกันเองอย่างไม่ถือพระองค์ โดยทรงตักข้าวในห่อของพระองค์มาใส่ในห่อของคุณพ่อ พร้อมรับสั่งว่า ลองกินดูสิ จะได้รู้ว่าข้าวในเมืองกับข้าวในป่าต่างกันหรือไม่ นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ตามเสด็จด้วยยังได้ทรงปอกเปลือกส้มให้คุณพ่อลองรับประทานดู ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ที่คุณพ่อจดจำไม่มีวันลืม
พระองค์ยังได้เสด็จฯ มายังหมู่บ้านอีกหลายครั้ง โดยครั้งที่ 2 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ทำการย้ายหมู่บ้านจากป่าละอู ไปยังหมู่บ้านฟ้าประทาน เพื่อหนีจากภัยความรุนแรงและการต่อสู้จากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งครั้งนี้พระองค์ยังได้พระราชทานบ้านให้แก่คุณพ่อ ในฐานะผู้ใหญ่บ้าน โดยรับสั่งให้ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ พระองค์ก็เสด็จฯ มาเปิดบ้านด้วยพระองค์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ของครอบครัวปัญญาหาญ รวมทั้งพระองค์ยังทรงเมตตาต่อประชาชนในหมู่บ้าน โดยได้รับสั่งว่า จะนำความเจริญ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่ดิน และถนนหนทางมาสู่หมู่บ้าน ซึ่งหลังจากนั้นไฟฟ้า ประปา ที่ดิน และถนนก็ค่อยๆ เกิดขึ้นจริงจนเสร็จสมบูรณ์ ภายใน 3 ปี เรียกว่า โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ โดยพระองค์ได้เสด็จฯ มาครั้งที่ 3 เพื่อทำการเปิดโครงการดังการ ซึ่งโครงการดังกล่าวนำมาสู่การแก้ไขปัญหาความรุนแรงจากการต่อสู้จากภัยคอมมิวนิสต์และนำความสงบกับมาสู่ชีวิตชาวกะเหรี่ยงอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้ พระองค์ยังเสด็จฯ มายังอีกหมู่บ้านเพื่อติดตามโครงการอีก 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 5 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายพระองค์เสด็จฯ มาในปี 2557 ขณะเสด็จฯ ประทับที่พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งแม้พระองค์จะทรงประชวร แต่ก็ยังให้ความเมตตาแก่ชาวบ้าน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ที่พระองค์นำความเจริญมาสู่ชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านฟ้าประทาน
"เมื่อทราบข่าวว่า พระองค์สวรรคต ก็รู้สึกใจหาย รู้สึกหวิวๆ เหมือนญาติผู้ใหญ่อันเป็นที่รักได้จากไป เพราะพระองค์ท่าน มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวกะเหรี่ยงอย่างมาก ซึ่งหลังจากพระองค์ได้เสด็จมายังหมู่บ้าน และดำเนินโครงการสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ก็ได้ช่วยแก้ไขภาพลักษณ์ของชาวเขา ต่อสายตาเจ้าหน้าที่ให้ไม่มองชาวเขาเป็นผู้ก่อความไม่สงบ เป็นพวกคอมมิวนิสต์อีกต่อไป รวมทั้งยังมีโครงการพัฒนาต่างๆ มีการตัดถนน ติดตั้งไฟฟ้า นำประปา กระจายที่ดินให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งหลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้วก็ไม่รู้ว่าชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบ้านฟ้าประทาน จากนี้ไปจะเป็นเช่นไร" นายศักดิ์ดา กล่าว
ส่วนหนึ่งในบุคคลในภาพ คือ นายเจริญ ไชยกอ ชาวเขาชนเผ่าลาหู่ ผู้เคยเข้าเฝ้าฯ ถวายของที่ระลึก เมื่อครั้งเสด็จฯ บ้านห้วยลึก ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2527 ซึ่งภาพเหตุการณ์ของนายเจริญ ได้ถูกจัดพิมพ์เป็นด้านหลังธนบัตรฉบับละ 100 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เปิดเผยว่า เคยได้รับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 ประมาณ 5-6 ครั้ง ครั้งแรกตอนปี พ.ศ.2513 ยังเป็นนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับพระราชทานสมุด ดินสอ และลูกอม จากพระหัตถ์พระองค์ท่าน เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปพระราชทานแกะ ไก่ หมู ลิ้นจี้ และพันธุ์ผลไม้เมืองหนาว มาให้คุณพ่อ (จะฟะ ไชยกอ) เพื่อให้ส่งเสริมนำไปชาวเขาได้นำไปเลี้ยง ไปปลูก เลี้ยงชีพตัวเองได้
จากนั้น ในปี พ.ศ.2515 พระองค์ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกชา กาแฟ และไม้เมืองหนาวเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้ชาวเขาปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งคุณพ่อได้รับคัดเลือกจากกองกำกับการ ตชด.เขต5 ค่ายดารารัศมี (ชื่อขณะนั้น) ให้ไปอบรมเรื่องการเกษตร แล้วนำไปแนะนำต่อให้ชาวเขา ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องการทำเกษตร ท่านทรงให้เราเตรียมความพร้อม กระทั่งปี พ.ศ.2526 คุณพ่อเสียชีวิต จึงได้พาน้องๆ ไปเข้าเฝ้าฯ เมื่อครั้งท่านเสด็จฯ ที่ห้วยลึก อ.เชียงดาว ปี พ.ศ.2527 พระองค์ทรงมีรับสั่งว่า "ใครลูกจะฟะ ฉันเสียใจด้วย ฉันกับจะฟะรู้จักกันมานาน โครงการที่ให้ทำ ให้นำไปสานต่อ" กว่า 50 ปีที่พระองค์ทรงส่งเสริม วางแผน พัฒนา สร้างร้านค้าในพระบรมราชานุเคราะห์ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้เรามีร้านวางจำหน่ายสินค้าเกษตร และติดตามทุกโครงการที่พระราชทานให้แก่พวกเรา ทำให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น แม้ต้องใช้เวลานาน แต่ก็มีความยั่งยืน