พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักร หรือคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กล่าวว่าตนได้ลงนามในหนังสือส่งถึงเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ ประจำประเทศไทย ที่ผู้กระทำผิดมาตรา 112 เข้าไปพักอาศัยรวม 7 ประเทศ ระบุจำนวนผู้ต้องหา 19 ราย ที่พบว่าผู้กระทำผิดยังคงเคลื่อนไหวและกระทำการไม่บังควรอยู่ เพื่อแจ้งให้ทูตประจำประเทศไทยทั้ง 7 ประเทศได้รับทราบ และขอร้องให้เข้าใจถึงความรู้สึกของคนไทย โดยระบุตำแหน่งที่พักอาศัยของผู้กระทำผิดไว้ด้วย ยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นการละเมิดอธิปไตย เพราะเข้าใจว่าประเทศต่างๆไม่มีกฎหมายดังกล่าวแต่เป็นการขอร้องให้ประเทศที่เป็นมหามิตรย่อมเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนว่าประเทศไทยอยู่ในสถานะอย่างไร ถึงแม้จะไม่มีกฎหมายในลักษณะนี้ในต่างประเทศแต่คงจะได้กำกับดูแลไม่ให้สิ่งเหล่านี้กระทบกระเทือนจิตใจคนไทย อยากจะใช้คำว่ามันมากเกินไปที่จะทบรับสิ่งเหล่านี้ ที่ผ่านมาอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะเลขานุการศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ (ศตส.)ได้รวบรวมข้อมูลส่งให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางประสานกับประเทศที่ผู้กระทำความผิดไปพักอาศัยมาโดยตลอด ขอให้ควบคุมไม่ให้คนกลุ่มดังกล่าวออกมาเคลื่อนไหวสิ่งใดที่เป็นการกระทบจิตใจของคนในประเทศ ที่ผ่านมามีการทำหนังสือถึงเป็นระยะ ทั้งนี้ตนขอยืนยันกับประชาชนว่าชุดทำงานคดีความผิด 112 ยังมีอยู่ และยังทำหน้าที่นี้อยู่อย่างเต็มความสามารถ
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวถึงการใช้มาตรการทางสังคมกับผู้กระทำผิดมาตรา 112 ว่า มาตรการทางสังคมเป็นหนึ่งในมาตรการชุมชนที่สนับสนุนมาตรการทางกฎหมาย เพื่อปรับทัศนคติของกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยเห็นว่าหากใช้กฎหมายอย่างเดียวจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ แม้จะมีการจับกลุ่มคนดังกล่าวเข้าเรือนจำก็คงไม่สามารถแก้ไขได้ แต่มาตรการทางสังคมจะทำให้ผู้กระทำผิดได้ฉุกคิดถึงการกระทำของตนเอง แต่มาตรการทางสังคมต้องเข้าใจว่าต่างจากการใช้กฎหมู่ ส่วนตัวมองว่าการใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ใช้กำลังก็เหมือนเป็นการทำไม่ทำตามกฎหมาย มาตรการทางสังคมต้องเป็นมาตรการที่ไม่ผิดกฎหมาย ในกรณีนี้ตนไม่ขอเน้นว่าเป็นเหตุการณ์ใดแต่พูดภาพรวมว่าไม่มีสิทธิที่จะทำร้ายร่างกายใคร เพราะการทำร้ายร่างกายเป็นการทำผิดกฎหมาย ไม่มีใครมีสิทธิใช้มาตรการทางสังคมทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้จะเป็นการทำโดยบริสุทธิ์ใจเพราะคนนั้นเป็นคนที่ทำร้ายประเทศที่กำลังเจ็บปวดอยู่ก็ตาม
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวถึงการใช้มาตรการทางสังคมกับผู้กระทำผิดมาตรา 112 ว่า มาตรการทางสังคมเป็นหนึ่งในมาตรการชุมชนที่สนับสนุนมาตรการทางกฎหมาย เพื่อปรับทัศนคติของกลุ่มบุคคลดังกล่าว โดยเห็นว่าหากใช้กฎหมายอย่างเดียวจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ แม้จะมีการจับกลุ่มคนดังกล่าวเข้าเรือนจำก็คงไม่สามารถแก้ไขได้ แต่มาตรการทางสังคมจะทำให้ผู้กระทำผิดได้ฉุกคิดถึงการกระทำของตนเอง แต่มาตรการทางสังคมต้องเข้าใจว่าต่างจากการใช้กฎหมู่ ส่วนตัวมองว่าการใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ใช้กำลังก็เหมือนเป็นการทำไม่ทำตามกฎหมาย มาตรการทางสังคมต้องเป็นมาตรการที่ไม่ผิดกฎหมาย ในกรณีนี้ตนไม่ขอเน้นว่าเป็นเหตุการณ์ใดแต่พูดภาพรวมว่าไม่มีสิทธิที่จะทำร้ายร่างกายใคร เพราะการทำร้ายร่างกายเป็นการทำผิดกฎหมาย ไม่มีใครมีสิทธิใช้มาตรการทางสังคมทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้จะเป็นการทำโดยบริสุทธิ์ใจเพราะคนนั้นเป็นคนที่ทำร้ายประเทศที่กำลังเจ็บปวดอยู่ก็ตาม