นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนกุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยกรณีตำรวจกำหนดวันทดลองปิดสะพานรัชโยธินตั้งแต่เวลา 23.00 น.วันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ จนถึงเวลา 22.00 น.วันที่ 21 พฤศจิกายน ระยะเวลาประมาณ 5 วันเพื่อดูผลกระทบก่อนทุบสะพานออกเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สัญญาที่ 1 ว่า ผู้รับเหมาอยู่ระหว่างปรึกษาหารือกับกองบังคับการตำรวจจราจร( บก.จร.) เรื่องแผนการทุบสะพาน
ทั้งนี้ ตามแผนที่ รฟม.วางไว้ จะรื้อสะพานเดิมตามแนวถนนรัชภิเษกออกเพื่อก่อสร้างใหม่ตามแนวถนนพหลโยธิน ซึ่งจะขนานกับโครงสร้างรถไฟฟ้า จากนั้น จะสร้างอุโมงค์ลอดตามแนวถนนรัชดาภิเษกทดแทนสะพานตัวเดิมด้วย คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี
รฟม.แจ้งว่า สาเหตุที่ต้องรื้อสะพานรัชโยธินแทนการสร้างทางรถไฟฟ้าข้ามสะพานเนื่องจากตามรูปแบบที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้ศึกษาไว้ เบื้องต้นเห็นว่าสภาพทางกายภาพถนนพหลโยธินมีช่องจราจรรวม 7 ช่องทาง เป็นด้านขาเข้า 4 ช่อง ขาออก 3 ช่อง หากวางต่อม่อสร้างทางยกระดับรถไฟฟ้าต้องใช้ผิวถนน ทำให้สูญเสียช่องจราจรไปไม่ต่ำกว่า 2 ช่องทาง
ไม่สามารถรองรับปริมาณรถได้ อีกทั้งยังต้องยกระดับรางรถไฟฟ้าข้ามสะพานจาก 16 เมตร ขึ้นอีก 2 เมตร เป็น 18 เมตร จะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างในทุกสถานีตามสายทาง รวมถึงทางรถไฟฟ้าที่สูงถึง 18 เมตร จะบดบังบ้านเรือนของของประชาชนที่อยู่ตามแนวงสายทาง จึงเลือกวิธีการสร้างอุโมงค์ทางลอดและสร้างสะพานรัชโยธินตามแนวถนนพหลโยธินขนานทางวิ่งรถไฟฟ้าทดแทน เพื่อรองรับปริมาณการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการสัญจรบริเวณแยกรัชโยธนได้มากขึ้นกว่าเดิม
ทั้งนี้ ตามแผนที่ รฟม.วางไว้ จะรื้อสะพานเดิมตามแนวถนนรัชภิเษกออกเพื่อก่อสร้างใหม่ตามแนวถนนพหลโยธิน ซึ่งจะขนานกับโครงสร้างรถไฟฟ้า จากนั้น จะสร้างอุโมงค์ลอดตามแนวถนนรัชดาภิเษกทดแทนสะพานตัวเดิมด้วย คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี
รฟม.แจ้งว่า สาเหตุที่ต้องรื้อสะพานรัชโยธินแทนการสร้างทางรถไฟฟ้าข้ามสะพานเนื่องจากตามรูปแบบที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ได้ศึกษาไว้ เบื้องต้นเห็นว่าสภาพทางกายภาพถนนพหลโยธินมีช่องจราจรรวม 7 ช่องทาง เป็นด้านขาเข้า 4 ช่อง ขาออก 3 ช่อง หากวางต่อม่อสร้างทางยกระดับรถไฟฟ้าต้องใช้ผิวถนน ทำให้สูญเสียช่องจราจรไปไม่ต่ำกว่า 2 ช่องทาง
ไม่สามารถรองรับปริมาณรถได้ อีกทั้งยังต้องยกระดับรางรถไฟฟ้าข้ามสะพานจาก 16 เมตร ขึ้นอีก 2 เมตร เป็น 18 เมตร จะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างในทุกสถานีตามสายทาง รวมถึงทางรถไฟฟ้าที่สูงถึง 18 เมตร จะบดบังบ้านเรือนของของประชาชนที่อยู่ตามแนวงสายทาง จึงเลือกวิธีการสร้างอุโมงค์ทางลอดและสร้างสะพานรัชโยธินตามแนวถนนพหลโยธินขนานทางวิ่งรถไฟฟ้าทดแทน เพื่อรองรับปริมาณการจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพการสัญจรบริเวณแยกรัชโยธนได้มากขึ้นกว่าเดิม