นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในรายงานของธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2559 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดิมคาดการณ์ร้อยละ 2.5 เมื่อเดือนมิถุนายน โดยเศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างเข้มแข็งกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งหากผลักดันการลงทุนภาครัฐได้ดีโอกาสเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ4-5
สำหรับปัจจัยหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย คือการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 3.3 การท่องเที่ยวที่รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มสูง เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังเติบโตน้อย เพียงร้อยละ2.3
ขณะที่ภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยคาดการส่งออกและบริการปีนี้ขยายตัว ร้อยละ 0.4 แต่การส่งออกยังเปราะบาง ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนขาดเสถียรภาพด้านการเงิน อาจทำให้บรรษัทที่มีหนี้สินสูงอาจผิดนัดชำระหนี้ อาจส่งผลกระทบกับไทยในเรื่องการค้าและการลงทุนจากจีน เนื่องจากไทยส่งออกสินค้าไปประเทศจีนถึงร้อยละ 12 จากยอดการส่งออกทั้งหมด และเงินลงทุนจากจีนคิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินทุนไหลเข้าโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วน ความเสี่ยงจากเสถียรภาพทางการเมือง หากมีการเลื่อนการปฏิรูปออกไป ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง จะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐถูกเลื่อนออกไปกระทบต่อการลงทุนภาครัฐที่มีปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและการที่รัฐบาลยืนยันจะมีการเลือกตั้งในปี 2560 ได้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ไปได้
สำหรับปัจจัยหลักในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย คือการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 3.3 การท่องเที่ยวที่รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มสูง เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังเติบโตน้อย เพียงร้อยละ2.3
ขณะที่ภาคการส่งออกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยคาดการส่งออกและบริการปีนี้ขยายตัว ร้อยละ 0.4 แต่การส่งออกยังเปราะบาง ต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนขาดเสถียรภาพด้านการเงิน อาจทำให้บรรษัทที่มีหนี้สินสูงอาจผิดนัดชำระหนี้ อาจส่งผลกระทบกับไทยในเรื่องการค้าและการลงทุนจากจีน เนื่องจากไทยส่งออกสินค้าไปประเทศจีนถึงร้อยละ 12 จากยอดการส่งออกทั้งหมด และเงินลงทุนจากจีนคิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินทุนไหลเข้าโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วน ความเสี่ยงจากเสถียรภาพทางการเมือง หากมีการเลื่อนการปฏิรูปออกไป ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง จะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐถูกเลื่อนออกไปกระทบต่อการลงทุนภาครัฐที่มีปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญและการที่รัฐบาลยืนยันจะมีการเลือกตั้งในปี 2560 ได้ จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ไปได้