นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับการกีฬาแห่งประเทศไทย และสมาคมกีฬาต่างๆ เดินหน้า“โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา” หรือ Sport Tourism ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-2560
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงกีฬาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินสร้างรายได้ประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งศักยภาพของไทยสามารถในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความพร้อมทั้งบุคลากร และสถานที่จัดการแข่งขัน และประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ แต่ยังขาดการทำความเข้าใจ และกระตุ้นให้เห็นประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงกีฬา โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นการริเริ่มกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางกีฬาของประเทศไทยและแนวทางการส่งเสริมในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวที่เหมาะสม ตลอดจนถอดบทเรียนแบบการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงกีฬาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วนต่างๆ
นายพงษ์ภาณุ ยกล่าวถึงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ซึ่งนำเข้าที่ประชุม ครม.วันนี้ และเตรียมประกาศใช้ทันที เพื่อส่งเสริมกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพตามแนวทาง 1.สร้างดุลยภาพในการท่องเที่ยว สมดุลในการกระจายรายได้ท่อเที่ยวไปยังท้องถิ่นทุกจังหวัดทุกชุมชน ไม่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่
2.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีแรงงานในระบบ 4 ล้านคน เน้นพัฒนาเรื่องภาษา ทักษะการดูแลการท่องเที่ยว เป็นแผนระยะ 5 ปี
3.พัฒนาหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวให้ทำงานแบบบูรณาการให้เชื่อมโยงกัน ทั้ง ต่างประเทศ วัฒนธรรม ภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ช่วยกันแก้ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญกับภาครัฐ
สำหรับการเสวนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เน้นพัฒนาให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาไทย เบื้องต้นต้องจัดระบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาให้มาร่วมกิจกรรรม อาทิ มวยไทย แข่งขันกอล์ฟ วิ่งมาราธอน เทนนิส ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มาช่วยกันวางระบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงอุปสรรคปัญหาและความเป็นไปได้ อาทิ การแข่งขันวิ่งมาราธอนของไทยยังต้องจัดแข่งขันเริ่มวิ่งตอนตี 2 เนื่องจากมีปัญหาด้านการจราจร เป็นต้น และหากดำเนินตามโครงการได้ จะเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวเชิงกีฬาจาก 1 แสนล้านบาทเป็น 2 แสนล้านบาทต่อปี
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงกีฬาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่สร้างเม็ดเงินสร้างรายได้ประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งศักยภาพของไทยสามารถในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬามีความพร้อมทั้งบุคลากร และสถานที่จัดการแข่งขัน และประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ แต่ยังขาดการทำความเข้าใจ และกระตุ้นให้เห็นประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงกีฬา โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นการริเริ่มกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางกีฬาของประเทศไทยและแนวทางการส่งเสริมในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวที่เหมาะสม ตลอดจนถอดบทเรียนแบบการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงกีฬาต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วนต่างๆ
นายพงษ์ภาณุ ยกล่าวถึงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ซึ่งนำเข้าที่ประชุม ครม.วันนี้ และเตรียมประกาศใช้ทันที เพื่อส่งเสริมกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพตามแนวทาง 1.สร้างดุลยภาพในการท่องเที่ยว สมดุลในการกระจายรายได้ท่อเที่ยวไปยังท้องถิ่นทุกจังหวัดทุกชุมชน ไม่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่
2.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีแรงงานในระบบ 4 ล้านคน เน้นพัฒนาเรื่องภาษา ทักษะการดูแลการท่องเที่ยว เป็นแผนระยะ 5 ปี
3.พัฒนาหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวให้ทำงานแบบบูรณาการให้เชื่อมโยงกัน ทั้ง ต่างประเทศ วัฒนธรรม ภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ช่วยกันแก้ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญกับภาครัฐ
สำหรับการเสวนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เน้นพัฒนาให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาไทย เบื้องต้นต้องจัดระบบการท่องเที่ยวเชิงกีฬาให้มาร่วมกิจกรรรม อาทิ มวยไทย แข่งขันกอล์ฟ วิ่งมาราธอน เทนนิส ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มาช่วยกันวางระบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงอุปสรรคปัญหาและความเป็นไปได้ อาทิ การแข่งขันวิ่งมาราธอนของไทยยังต้องจัดแข่งขันเริ่มวิ่งตอนตี 2 เนื่องจากมีปัญหาด้านการจราจร เป็นต้น และหากดำเนินตามโครงการได้ จะเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวเชิงกีฬาจาก 1 แสนล้านบาทเป็น 2 แสนล้านบาทต่อปี