นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับโอนภารกิจตรวจสอบสินค้าเกษตรและอาหารนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ตามพิกัดศุลกากร 7 พิกัด ครอบคลุมสินค้า 338 รายการ ประกอบด้วย พิกัด 02 ได้แก่ เนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์ที่บริโภคได้ พิกัด 03 ได้แก่ ปลา สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ และสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ พิกัด 04 ได้แก่ ไข่ สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่บริโภคได้ ซึ่งไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่น พิกัด 05 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่น พิกัด 09 ได้แก่ กาแฟ และเครื่องเทศ พิกัด 10 ได้แก่ ธัญพืช และพิกัด 12 ได้แก่ เมล็ดพืชและผลไม้ที่มีน้ำมัน เมล็ดธัญพืชและผลไม้เบ็ดเตล็ด พืชที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนสินค้าเกษตรและอาหารที่ส่งออกแล้วถูกส่งกลับคืน หากนำมาปรับปรุงเพื่อส่งออกใหม่ กระทรวงเกษตรฯจะเป็นผู้ดูแล แต่หากประสงค์นำกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศ อย.ยังคงทำหน้าที่ตรวจสอบเช่นเดิม
ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างเร่งให้ปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับการปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพ และควบคุมความปลอดภัยอาหาร ณ ด่านนำเข้าทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลความปลอดภัยอาหารและอำนวยความสะดวกทางการค้าให้รวดเร็วขึ้น และที่สำคัญเป็นการปกป้องผู้บริโภคในประเทศ จากสินค้าที่มีความเสี่ยงและสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข อยู่ระหว่างเร่งให้ปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับการปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพ และควบคุมความปลอดภัยอาหาร ณ ด่านนำเข้าทั้งระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลความปลอดภัยอาหารและอำนวยความสะดวกทางการค้าให้รวดเร็วขึ้น และที่สำคัญเป็นการปกป้องผู้บริโภคในประเทศ จากสินค้าที่มีความเสี่ยงและสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย