พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบบริษัทของลูกชาย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ชนะการประมูลได้รับงานก่อสร้างของกองทัพภาคที่ 3 ว่า ศอตช. ยังไม่ได้รับเรื่องให้ตรวจสอบ ขณะนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งป.ป.ช.ก็ดำเนินการอยู่ ศอตช.เป็นแค่หน่วยบูรณาการ ดังนั้น หากหน่วยงานรับผิดชอบทำหน้าที่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบบูรณาการ การที่ศอตช.จะเข้าไปดูหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเสนอของหน่วยงานตรวจสอบ ไม่ใช่ทุกเรื่องต้องให้ศอตช.เป็นคนทำ หน่วยงานตรวจสอบแต่ละหน่วยเป็นองค์กรอิสระ ตนไม่สามารถเข้าไปสั่งการหรือก้าวก่ายได้ และไม่อยากให้ศอตช.กลายเป็นศูนย์ก้าวก่ายงาน
ทั้งนี้ หาก ศอตช.ได้รับการประสานให้ตรวจสอบก็จะเปิดเผยให้รับทราบ แต่ ศอตช.เป็นหน่วยบูรณาการไม่มีเจ้าหน้าที่ ดังนั้นหากมีการร้องเข้ามาต้องให้หน่วยตรวจสอบเป็นผู้ดำเนินการ แต่ย้ำว่ายินดีที่จะทำให้สังคมมั่นใจในระบบปราบปรามทุจริตของรัฐบาล
พล.อ.ไพบูลย์ ยังกล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ศอตช. รับผิดชอบตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวว่า จากนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือ ในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีสำนวนที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าว 800 สำนวน เบื้องต้นสั่งการให้เลขาธิการป.ป.ท.รวบรวมข้อมูลและดูรายละเอียดของหน่วยงานที่รับผิดชอบว่ามีเรื่องอยู่ที่ใดบ้าง จะได้ทยอยเรียกข้อมูลเนื่องจากกรณีดังกล่าวมีเป้าหมายหาตัวผู้กระทำผิด ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปก่อน อย่างไรก็ตาม การทำงานจะต้องยึดหลักให้ทันกับความรับผิดทางละเมิดด้วย
ทั้งนี้ หาก ศอตช.ได้รับการประสานให้ตรวจสอบก็จะเปิดเผยให้รับทราบ แต่ ศอตช.เป็นหน่วยบูรณาการไม่มีเจ้าหน้าที่ ดังนั้นหากมีการร้องเข้ามาต้องให้หน่วยตรวจสอบเป็นผู้ดำเนินการ แต่ย้ำว่ายินดีที่จะทำให้สังคมมั่นใจในระบบปราบปรามทุจริตของรัฐบาล
พล.อ.ไพบูลย์ ยังกล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ศอตช. รับผิดชอบตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวว่า จากนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือ ในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีสำนวนที่เกี่ยวข้องในคดีดังกล่าว 800 สำนวน เบื้องต้นสั่งการให้เลขาธิการป.ป.ท.รวบรวมข้อมูลและดูรายละเอียดของหน่วยงานที่รับผิดชอบว่ามีเรื่องอยู่ที่ใดบ้าง จะได้ทยอยเรียกข้อมูลเนื่องจากกรณีดังกล่าวมีเป้าหมายหาตัวผู้กระทำผิด ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจกับโครงสร้างเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปก่อน อย่างไรก็ตาม การทำงานจะต้องยึดหลักให้ทันกับความรับผิดทางละเมิดด้วย