งานศึกษาชิ้นใหม่จากนักวิจัยอเมริกันชี้ปัญหาหมอกควันพิษจากการเผาป่าในอินโดนีเซียเมื่อปีที่แล้ว เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรกว่า 100,000 รายในสามประเทศ คาดรายงานชิ้นนี้จะเพิ่มความกดดันให้แดนอิเหนาจัดการกับ “หมอกควันมรณะ” อย่างจริงจังมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นการร่วมมือในภูมิภาคเพื่อจัดการวิกฤตสาธารณสุขนี้
ในวันจันทร์ (19 ก.ย.) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานการศึกษาที่มีการประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 91,600 คนในอินโดนีเซีย ในบริเวณที่ใกล้การเผาป่า และ 6,500 คนในมาเลเซีย กับอีก 2,200 คนที่สิงคโปร์
ตัวเลขประมาณการล่าสุดนี้ ซึ่งมาจากโมเดลการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และครอบคลุมการเสียชีวิตจากโรคในระบบทางเดินหายใจและสาเหตุอื่นๆ แตกต่างราวฟ้ากับดินกับตัวเลขอย่างเป็นทางการของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ระบุไว้มีคนตายไปเพียง 19 รายโดยครอบคลุมเฉพาะการป่วยและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในแดนอิเหนา
ยูยุน อินดราดี จากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “กรีนพีซ” ในอินโดนีเซีย วิจารณ์ว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หมอกควันมรณะจะทำลายชีวิตผู้คนจำนวนมากปีแล้วปีเล่า และความล้มเหลวในการหยุดยั้งการสูญเสียชีวิตในทันทีอาจถือเป็นอาชญากรรม
ทางด้านโฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ ต่อรายงานชิ้นนี้
ในวันจันทร์ (19 ก.ย.) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานการศึกษาที่มีการประเมินว่า มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 91,600 คนในอินโดนีเซีย ในบริเวณที่ใกล้การเผาป่า และ 6,500 คนในมาเลเซีย กับอีก 2,200 คนที่สิงคโปร์
ตัวเลขประมาณการล่าสุดนี้ ซึ่งมาจากโมเดลการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และครอบคลุมการเสียชีวิตจากโรคในระบบทางเดินหายใจและสาเหตุอื่นๆ แตกต่างราวฟ้ากับดินกับตัวเลขอย่างเป็นทางการของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ระบุไว้มีคนตายไปเพียง 19 รายโดยครอบคลุมเฉพาะการป่วยและเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในแดนอิเหนา
ยูยุน อินดราดี จากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “กรีนพีซ” ในอินโดนีเซีย วิจารณ์ว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หมอกควันมรณะจะทำลายชีวิตผู้คนจำนวนมากปีแล้วปีเล่า และความล้มเหลวในการหยุดยั้งการสูญเสียชีวิตในทันทีอาจถือเป็นอาชญากรรม
ทางด้านโฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ ต่อรายงานชิ้นนี้