ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือ กรุงเทพโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของนักเรียน ม.ปลาย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,218 คน เรื่อง "นักเรียน ม.ปลาย คิดอย่างไรกับการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2561" หลังจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ (ทปอ.) มีมติปรับเปลี่ยนวิธีคัดเลือกนิสิต นักศึกษา เข้ามหาวิทยาลัย แทนระบบแอดมิชชั่น ในปีการศึกษา 2561 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 89.2 ทราบแล้วว่ามีการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2561 ขณะที่ร้อยละ 10.8 ยังไม่ทราบ
ทั้งนี้ นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 71.8 เห็นด้วยกับการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยเห็นว่าสามารถลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เทียมในการสอบ ระหว่างนักเรียนที่มีฐานะทางบ้านดี กับนักเรียนที่มีฐานะทางบ้านด้อยกว่าได้ รองลงมา ร้อยละ 66.1 เห็นด้วย เพราะจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการเสียค่าใช้จ่ายในการสอบหลายครั้ง และร้อยละ 63.0 เห็นด้วยว่าสามารถแก้ปัญหาเด็กเก่งสอบตรงติดหลายที่ ทำให้ไปกันที่ของเด็กคนอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 53.5 ระบุว่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบดังกล่าว มีผลต่อการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะทำให้ต้องวางแผนการอ่านหนังสือใหม่ทั้งหมด ไม่รู้แนวข้อสอบ ขณะที่ร้อยละ 46.5 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ เพราะมีเวลาเตรียมตัวทันอยู่แล้ว ทุกคนจะได้เท่าเทียมกัน ไม่ต้องสอบหลายครั้ง
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดต่อการเปลี่ยนรูปแบบการสอบคัดเลือก ร้อยละ 47.0 ระบุว่า ไม่มีโอกาสสอบแก้ตัว เพราะสอบเพียงครั้งเดียว ขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุว่า โอกาสหรือตัวเลือกในการสอบติดมหาวิทยาลัยของรัฐน้อยลง และร้อยละ 12.9 ระบุว่า ไม่ทราบสูตรหรือเกณฑ์การคิดคะแนนสอบของแต่ละมหาวิทยาลัย
สำหรับหลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 66.7 จะเลือกคณะที่ชอบและอยากเรียนเป็นหลัก รองลงมา ร้อยละ 20.4 จะเลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก ขณะที่ร้อยละ 6.5 จะเลือกคณะใดก็ได้ที่มีคะแนนถึง
อย่างไรก็ตาม นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 28.6 คิดว่าการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการเรียนการสอนของไทยได้ ร้อยละ 23.2 คิดว่าไม่ได้ ขณะที่มีถึงร้อยละ 48.2 ที่ยังไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ สิ่งที่คิดว่าการศึกษาไทยควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ร้อยละ 23.2 ระบุว่า คือ การลดเนื้อหาที่ไม่จำเป็น ลดทฤษฎี เพิ่มการปฏิบัติ และการนำไปใช้ได้จริง รองลงมาร้อยละ 17.5 ระบุ ประสิทธิภาพในการสอนของผู้สอน การใช้สื่อและเทคนิคในการสอนของครูเพื่อสื่อให้นักเรียนเข้าใจ และร้อยละ 17.2 ระบุว่า ควรสอบเท่าที่จำเป็น ออกข้อสอบถูกต้อง มีมาตรฐาน ไม่ควรเกินจากหลักสูตรที่เรียน
ทั้งนี้ นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 71.8 เห็นด้วยกับการเปลี่ยนรูปแบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยเห็นว่าสามารถลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เทียมในการสอบ ระหว่างนักเรียนที่มีฐานะทางบ้านดี กับนักเรียนที่มีฐานะทางบ้านด้อยกว่าได้ รองลงมา ร้อยละ 66.1 เห็นด้วย เพราะจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการเสียค่าใช้จ่ายในการสอบหลายครั้ง และร้อยละ 63.0 เห็นด้วยว่าสามารถแก้ปัญหาเด็กเก่งสอบตรงติดหลายที่ ทำให้ไปกันที่ของเด็กคนอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 53.5 ระบุว่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบดังกล่าว มีผลต่อการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะทำให้ต้องวางแผนการอ่านหนังสือใหม่ทั้งหมด ไม่รู้แนวข้อสอบ ขณะที่ร้อยละ 46.5 เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ เพราะมีเวลาเตรียมตัวทันอยู่แล้ว ทุกคนจะได้เท่าเทียมกัน ไม่ต้องสอบหลายครั้ง
ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดต่อการเปลี่ยนรูปแบบการสอบคัดเลือก ร้อยละ 47.0 ระบุว่า ไม่มีโอกาสสอบแก้ตัว เพราะสอบเพียงครั้งเดียว ขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุว่า โอกาสหรือตัวเลือกในการสอบติดมหาวิทยาลัยของรัฐน้อยลง และร้อยละ 12.9 ระบุว่า ไม่ทราบสูตรหรือเกณฑ์การคิดคะแนนสอบของแต่ละมหาวิทยาลัย
สำหรับหลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 66.7 จะเลือกคณะที่ชอบและอยากเรียนเป็นหลัก รองลงมา ร้อยละ 20.4 จะเลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก ขณะที่ร้อยละ 6.5 จะเลือกคณะใดก็ได้ที่มีคะแนนถึง
อย่างไรก็ตาม นักเรียน ม.ปลาย ร้อยละ 28.6 คิดว่าการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบใหม่ จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการเรียนการสอนของไทยได้ ร้อยละ 23.2 คิดว่าไม่ได้ ขณะที่มีถึงร้อยละ 48.2 ที่ยังไม่แน่ใจ
นอกจากนี้ สิ่งที่คิดว่าการศึกษาไทยควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ร้อยละ 23.2 ระบุว่า คือ การลดเนื้อหาที่ไม่จำเป็น ลดทฤษฎี เพิ่มการปฏิบัติ และการนำไปใช้ได้จริง รองลงมาร้อยละ 17.5 ระบุ ประสิทธิภาพในการสอนของผู้สอน การใช้สื่อและเทคนิคในการสอนของครูเพื่อสื่อให้นักเรียนเข้าใจ และร้อยละ 17.2 ระบุว่า ควรสอบเท่าที่จำเป็น ออกข้อสอบถูกต้อง มีมาตรฐาน ไม่ควรเกินจากหลักสูตรที่เรียน