นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งสืบเนื่องจากสำนักเทศกิจ กทม. ได้ออกข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) การจัดซื้อเรือ 3 ลำ โดยลำแรก และลำที่สองเป็นเรือตรวจการณ์ไฟเบอร์กล๊าซ ราคา 6.5 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท ส่วนเรือลำที่ 3 เป็นเรือตรวจการเอนกประสงค์ ราคา 26.5 ล้านบาท โดยจากการตรวจสอบพบว่า รายละเอียดใน TOR ของเรือ 2 ลำแรกระบุไว้ว่า บุคคลที่จะขายเรือต้องมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 20 ปี และผู้เสนอราคาต้องมีอาชีพต่อเรือ หากเรือเกิดความเสียหายต้องซ่อมให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน ในระยะเวลาค้ำประกัน 1ปี แต่ในขณะที่เรือลำที่ 3 ซึ่งมีมูลค่าสูง ไม่ได้กำหนดรายละเอียดไว้เช่นเดียวกับ 2 ลำแรก ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่ามีการเขียน TOR เอื้อประโยชน์
นายวิลาศ กล่าวอีกว่า ระหว่างการจัดส่งมอบเรือตรวจการณ์เอนกประสงค์ ได้เกิดไฟไหม้ และจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ซ่อมแซมให้แล้วเสร็จ ซึ่งใกล้หมดระยะเวลารับประกัน และยังพบว่าในเงื่อนไขการเสนอราคาได้ระบุว่าเรือต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบสำเร็จรูปจากในประเทศหรือต่างประเทศ แต่เรือเอนกประสงค์ลำดังกล่าว ได้เช่าอู่ต่อเรือของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ระบุไว้ รวมถึงบุคคลที่เช่าอู่ต่อเรือคือพี่ชายของอาจารย์หัวหน้าแผนกช่างต่อเรือของวิทยาลัยดังกล่าวด้วย
นายวิลาศ กล่าวต่อว่า พบพฤติกรรมที่ส่อทุจริตในการประกวดราคา ที่พบว่าไม่เคาะราคาในวันเดียวกัน จนทำให้ไม่มั่นใจว่าได้เคาะราคาจริงหรือไม่ รวมถึงบางบริษัทที่ยื่นเสนอราคากลาง มีความเชื่อมโยงกับบริษัทใหญ่ที่ผูกขาดการซื้อขายกับกทม. ขณะเดียวกันได้ตั้งข้อสังเกตว่าเรือลำดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรือนำเที่ยวที่มีทีวีขนาดใหญ่ 2 เครื่อง ตู้เย็น ลำโพงและเคาร์เตอร์บาร์ ซึ่งผิดจากวัตถุประสงค์การซื้อเรือที่ระบุว่าใช้สำหรับตรวจการและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ทั้งนี้ จะยื่นหนังสือร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ของ กทม.ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวันที่ 14 กันยายนนี้ เพื่อให้ตรวจสอบต่อไป
นายวิลาศ กล่าวอีกว่า ระหว่างการจัดส่งมอบเรือตรวจการณ์เอนกประสงค์ ได้เกิดไฟไหม้ และจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ซ่อมแซมให้แล้วเสร็จ ซึ่งใกล้หมดระยะเวลารับประกัน และยังพบว่าในเงื่อนไขการเสนอราคาได้ระบุว่าเรือต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบสำเร็จรูปจากในประเทศหรือต่างประเทศ แต่เรือเอนกประสงค์ลำดังกล่าว ได้เช่าอู่ต่อเรือของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ระบุไว้ รวมถึงบุคคลที่เช่าอู่ต่อเรือคือพี่ชายของอาจารย์หัวหน้าแผนกช่างต่อเรือของวิทยาลัยดังกล่าวด้วย
นายวิลาศ กล่าวต่อว่า พบพฤติกรรมที่ส่อทุจริตในการประกวดราคา ที่พบว่าไม่เคาะราคาในวันเดียวกัน จนทำให้ไม่มั่นใจว่าได้เคาะราคาจริงหรือไม่ รวมถึงบางบริษัทที่ยื่นเสนอราคากลาง มีความเชื่อมโยงกับบริษัทใหญ่ที่ผูกขาดการซื้อขายกับกทม. ขณะเดียวกันได้ตั้งข้อสังเกตว่าเรือลำดังกล่าวมีลักษณะเป็นเรือนำเที่ยวที่มีทีวีขนาดใหญ่ 2 เครื่อง ตู้เย็น ลำโพงและเคาร์เตอร์บาร์ ซึ่งผิดจากวัตถุประสงค์การซื้อเรือที่ระบุว่าใช้สำหรับตรวจการและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ทั้งนี้ จะยื่นหนังสือร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อเรือตรวจการณ์ของ กทม.ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวันที่ 14 กันยายนนี้ เพื่อให้ตรวจสอบต่อไป