สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ผมขอแสดงความยินดีกับคณะเยาวชนไทย จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ น.ส.สุรีย์พร ตรีเพชรประภา น.ส.ธิดารัตน์ เพียร และ น.ส.กาญจนา คมกล้า เจ้าของผลงานวิจัยนวัตกรรมการกักเก็บน้ำโดยเลียนแบบสับปะรดสี ซึ่งชนะเลิศจากการประกวดผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ประจำปี 2559 และได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการประกวด Stockholm Junior Water Prize ที่เมืองสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากเจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิปแห่งสวีเดน ประทานรางวัล ในครั้งนี้อีกด้วย ผมขอขอบคุณและชื่นชม อาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 2 ท่าน ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ พร้อมทั้ง สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันผลงานเยาวชนไทยดังกล่าว สู่สายตาชาวโลก และเวทีการประกวดระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานนี้ เป็นนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ สอดคล้องกันการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดจากการเรียนรู้ จากการสังเกตธรรมชาติ และสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หลายอย่างหากมองผ่าน ๆ ก็ไม่เห็นประโยชน์อะไร แต่หากมองอย่างพินิจ พิเคราะห์ อาจนำมาสู่สิ่งใหม่ ๆที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติหรือโลกได้ ผมเห็นว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ อย่างนี้เสมอ เหมือนการสร้างบ้าน สร้างอาคารสูง ก็ต้องเริ่มจากก้อนอิฐ ก้อนเล็ก ๆ มาประกอบกันเช่นกัน
สำหรับผลงานวิจัยนี้ เกิดจากการศึกษาการกลไกทางธรรมชาติ 2 ประการ คือ การกักเก็บน้ำและรักษาความชื้นของสับปะรดสี ประกอบด้วยการสังเกตคุณสมบัติเฉพาะ ของแผ่นสังกะสีเคลือบอะลูมิเนียมมุงหลังคาบ้านที่มีความจุความร้อนน้อย ในช่วงเวลากลางคืนเมื่อไอน้ำในอากาศมากระทบจึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ง่าย จนนำมาสู่การประยุกต์ เป็นต้นแบบสร้างอุปกรณ์ในการกักเก็บน้ำเลียนแบบสับปะรดสี โดยประดิษฐ์จากแผ่นอะลูมิเนียม นับเป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรได้ โดยโมเดลจากการวิจัยนี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้แม้ในสภาวะแห้งแล้ง จากการนำชุดอุปกรณ์นี้ ที่มีราคาต้นทุนเพียงชุดละ 25 บาท ไปใช้งานจริง ติดตั้งบนต้นยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่าสามารถรักษาความชื้นในดินได้ มากกว่าปกติร้อยละ 17 ประหยัดการรดน้ำลงกว่าปกติ ร้อยละ 10 ให้ผลผลิตสูงขึ้น ร้อยละ 57 และคืนทุน ภายใน 6 วัน ผมคิดว่านวัตกรรมนี้ เกิดจากการสังเกตและผลิตอย่างง่ายๆ เพราะฉะนั้นหากเยาวชนช่วยกันประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เหล่านี้ และให้ได้รับการพัฒนาด้วยหลักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เหมาะสม มีการสนับสนุนสู่การผลิต มีการใช้ ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ พิจารณาต่อยอดต่อไป อย่างปล่อยทิ้งๆ ขว้างๆ น่าเสียดายครับ
ต่อไป จากการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ได้เห็นชอบให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) นับเป็นกลไกใหม่ ในแต่ละทุกกระทรวง มีหน้าที่ประสานงาน เร่งรัด กำกับดูแลและติดตาม ให้รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้วย โดยต้องทำงานประสานสอดคล้องกับ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช. ป.ป.ท. สตง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายนะครับ โดยรัฐบาลนี้ ถือว่าการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นวาระแห่งชาติ การดำเนินการทุกอย่างต้องมิใช่เป็นเพียงแนวนโนบาย หรือเป็นแผนในกระดาษ แต่ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมในทุกระดับ และมีประสิทธิภาพ เราได้ตรวจสอบพบว่าใน 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2556 - 2558 ปัญหาการทุจริต พบความเสียหายในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 200 เรื่อง คิดมูลค่าความเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท วันนี้รัฐบาลนี้ทำให้สถานการณ์การทุจริตลดลงอย่างชัดเจนตามผลสำรวจของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน CPI เกือบ 180 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2556 - 2558 อันดับของประเทศไทยดีขึ้น ทุก ๆ ปี อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้และ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ เราอยู่อันดับที่ 102 ปัจจุบันเราอยู่อันดับที่ 76 ดีขึ้น เกือบ 30 อันดับ เป้าหมายสำคัญในการปราบปรามการทุจริตของ รัฐบาลคือคนโกงรายเก่าจะต้องหมดไป คนโกงรายใหม่ต้องไม่เกิด และไม่เปิดโอกาสให้มีการโกงในทุกวงการ เพราะเราต้องทำงานเชิงรุก ช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกันตั้งแต่ต้นทาง โดยใช้กฎหมาย ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบจำนวน 258 ราย ได้มีการดำเนินการทางวินัยของต้นสังกัดแล้วเสร็จจำนวน 62 ราย มีผลทางวินัย ไล่ออก 8 ราย พ้นจากตำแหน่ง 25 ราย ที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานด้านปราบปรามทุจริตเพื่อความรอบคอบและรัดกุม เป็นไปตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้มีความห่วงใยเจ้าหน้าที่ระดับผู้น้อยปฏิบัติการ ซึ่งบางทีไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือไม่ได้รู้เห็นกับการทุจริต อาจจะต้องทำงานตามนโยบายตามคำสั่ง ไม่กล้าปฏิเสธ เนื่องจากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผมได้สั่งการในที่ประชุม คสช.ให้ไปพิจารณาหามาตรการ หรือกลไกที่เหมาะสม ในการที่จะให้ความเป็นธรรม ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับล่างเหล่านั้นด้วย ทั้งปัจจุบันและอนาคต เขาจะได้ไม่หวาดกลัวจนทำงานไม่ได้
ผมเห็นว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของประเทศนั้น เราจะต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบ และครบวงจร เช่น จากสภาวะแวดล้อมจากในปัจจุบัน ในโลกโลกาภิวิตน์ ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และสมัยใหม่ มันอาจจะเป็นดาบสองคม โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลายฝ่ายก็จ้องกระทำผิด สรรหาเครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่ที่มีราคาสูง ฝ่ายปราบปรามก็ต้องคอยปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งคนและเทคโนโลยี ซึ่งก็จำกัดด้วยงบประมาณอีกเช่นกัน ดังนั้นกลไกที่มีศักยภาพก็คือประชาชนทุกคนที่เป็นเจ้าของประเทศ ต้องเป็นหูเป็นตา ร่วมมือกัน ช่วยกันเฝ้าระวัง แต่ก็ต้องรู้กฎหมายด้วย รู้ขั้นตอนการทำงานของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ไม่งั้นก็ตีกันไปมา จนทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน
เรื่องต่อไปคือปัจจัยภายใน และภายนอก เรามีพื้นฐานที่ต่างกัน มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม คนอาจจะมีความไม่รู้จักพอเพียง ความโลภของมนุษย์ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ไม่สมดุลกับความเจริญทางสังคม รายจ่าย รายได้ไม่สมดุลกัน เกิดเป็นสังคมบริโภคนิยม วัตถุนิยม และตามมาด้วยการแย่งชิงทรัพยากร ไม่เกื้อกูล แบ่งปันกัน ก็จะเป็นโลกแห่งการแข่งขันเสรีกันอย่างที่ทั้งโลกเขาเป็นกันอยู่ในเวลานี้ คือประชาธิปไตยอย่างเสรีของตะวันตก หรือของสากล ในอดีตนั้น สังคมไทยเน้นคุณธรรม จริยธรรม แต่ในปัจจุบันนั้นเรากลับให้ความสำคัญน้อยลง เป็นไปตามกลไกของโลกใบนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป เรากลับมาที่เดิมด้วย
เรื่องต่อไปคือ การแก้ปัญหาทุกเรื่องนั้นต้องเริ่มต้นจากจิตใจ จิตสำนึกของแต่ละคน ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม ประเทศชาติ เป็นโอกาสและการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมและเป็นการสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวาง ให้ความสำคัญกับการศึกษาทั้งในระบบ ทั้งจากการเรียนรู้จากสังคม ชุมชน และให้มีการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ
สรุป สาระสำคัญก็คือ เราต้องแก้เรื่องนี้ด้วยจิตใจ ด้วยค่านิยม คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ทำอย่างไรมันจะง่าย เรื่องเหล่านี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันต้องเกิดจากใจของทุกคน จากองค์กร เพราะงั้นเราจะทำยังไงให้มันง่ายที่จะปลูกฝัง ปลุกเร้าแรงกระตุ้น และไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเรื่องอื่นๆ เข้าใจหลักการและเหตุผล หลายคนต้องการให้ใช้กฎหมายอย่างรุนแรง บางทีใช้กฎหมายอย่างเดียวมันก็ไม่สำเร็จ เพราะมันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ทำยังไงคนไม่ดีจะทำให้เป็นคนดี ดีน้อยก็เป็นดีมาก ทำได้ยังไง บางคนทุจริตเพราะคิดว่าจำเป็น เป็นหน้าตาในสังคม เป็นความต้องการของครอบครัว บางคนทุจริตเพราะไม่รู้จักความพอเพียง รวยแล้วรวยอีก โดยอ้างความจำเป็นในการเลี้ยงตนเอง หรือครอบครัว บางคนทุจริตด้วยเจตนา ไม่รู้จักเพียงพอ เราต้องไปพิจารณาว่าเราจะมีมาตรการอย่างไรที่เหมาะสม ที่จะตอบโจทย์เหล่านี้ได้ เพราะมันมีเป้าหมายหลายกลุ่มด้วยกัน สื่อโซเชียลฯยุคใหม่ต้องหันกลับมาดูสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เสนอแต่เรื่องของการลงโทษ คงต้องมาสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึก อันนี้เป็นหน้าที่ของสื่อที่ต้องช่วยผมอยู่แล้ว
ในระหว่างวันที่ 4 และ 5 กันยายน ที่ผ่านมานั้น ผมได้เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำจี 20 ซัมมิท (G20 Summit) ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะประธานกลุ่ม จี 77 ตามคำเชิญของผู้นำจีน ก็เป็นครั้งแรกที่ประธานกลุ่มจี 77 ได้รับเชิญการประชุมดังกล่าว ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในฐานะผู้สร้างสะพานเชื่อมระหว่างสมาชิกจี 77 134 ประเทศ และ จี 20 โดยเฉพาะประเด็นความสนใจของประชาคมระหว่างประเทศ ที่มีต่อการเมืองเศรษฐกิจ และวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่รัฐบาลได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารประเทศ ในทุกระดับ ภายใต้แนวทางการส่งเสริมการระเบิดจากข้างใน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความต้องการของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งความเชื่อมั่น เชื่อว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของ 134 ประเทศ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนด้วย
ที่ผ่านมา เวทีการประชุมผู้นำ G20 เน้นการหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่มีขนาดเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 90 ของเศรษฐกิจโลก และมีจำนวนประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของโลกอย่างไรก็ตาม โลกใบนี้เป็นของมนุษยชาติทุกคน การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากโลกยังคงเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศ และแต่ละประเทศด้วยกัน จะเกิดช่องว่างระยะห่าง และนับวันจะขยายใหญ่ขึ้น จนนำไปสู่ปัญหาระดับโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบกับทุกประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องร่วมมือกันรับผิดชอบ ดังนั้นหัวข้อการหารือในปีนี้ก็คือ การประสานนโยบาย และแนวทางการพัฒนาใหม่ๆ เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศกำลังพัฒนา โดยการสร้างหุ้นส่วนระดับโลก เพื่อจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน และครอบคลุมไปพร้อมๆ กัน ผมก็เห็นว่าสอดคล้องกับแนวนโยบายของไทย โดยเฉพาะในฐานะประธาน G77 ที่พยายามผลักดันให้ทุกฝ่ายได้ผนึกกำลังกัน เพื่อสร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เดินหน้าเคียงบ่าเคียงไหล่ซึ่งกันและกัน เหมือนเพื่อน เหมือนพี่ เหมือนน้อง เหมือนญาติ ตามศักยภาพของแต่ละประเทศ และตามความสมัครใจในการเผชิญกับความท้าทายในหลากมิติ เราจะต้องเอาชนะกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราอาจจะต้องกล้าคิดนอกกรอบ แต่ก็ต้องนำกลับมาเข้าสู่กฎกติกา แต่ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆ ก้าวข้ามเส้นแบ่งในรูปแบบเดิมๆ ให้สู่ความเป็นยานยนต์แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ในแนวทางการพัฒนาใหม่ๆ อันประกอบด้วย การให้โอกาสใหม่ เปิดทางเลือก ไม่ปิดกั้นประเทศกำลังพัฒนาทั้งระดับนโยบาย และความร่วมมือ การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจากภายใน โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไปพร้อมกับการส่งเสริม SMEs และStart-up อันเป็นกลจักรใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก เชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าโลก และการสนับสนุนบทบาททุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตามกลไกประชารัฐของรัฐบาลไทย เพื่อให้บรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างเข้มแข็งและสมดุล ซึ่งไทยพร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศอื่นๆ ด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะเจริญเติบโตแข็งแกร่งไปด้วยกัน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 28 ครั้งที่ 29 ซึ่งมีการประชุมพร้อมกันครั้งเดียวกัน และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งหมด 15 การประชุม ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2559 นั้น มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการประชุมผู้นำจี 20 นอกจากกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้าการลงทุน รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว เวทีนี้อาเซียนและประเทศพันธมิตรเน้นความมีพลวัตที่จะต้องดำเนินการสร้างความร่วมมือใน 3 ด้าน ในการนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันได้แก่ การเสริมสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งที่ควรได้รับการดูแล และประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเฉพาะการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การสร้างความมั่นคงที่แข็งแกร่ง เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนทุกวัยอย่างสมดุล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในประชาคมอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างความเชื่อมโยง สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ละเลยการรักษาความมั่นคง และเสถียรภาพภายในภูมิภาค โดยการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนอย่างราบรื่น ทั้งนี้อาเซียนและประชาคมโลกจำเป็นต้องปรับตัวเข้าหากัน มีพลวัฒน์ มีเอกภาพ และเป็นปึกแผ่น ร่วมสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคด้วย ให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ การลักลอบค้ามนุษย์และยาเสพติด รวมทั้งปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ซึ่งเราไม่อาจหลีกเลี่ยง หรือแบ่งแยกความรับผิดชอบได้ เนื่องจากทุกประเทศจะต้องได้รับผลกระทบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เราก็ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ในทุกกิจกรรม เราควรเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ให้ได้รับผลประโยชน์ มีส่วนแบ่งร่วมกันอย่างเท่าเทียม ไม่ควรจะแข่งขันกันมากนัก แต่ควรจะเรียนรู้ แบ่งปันแนวปฏิบัติ ประสบการณ์ องค์ความรู้ เทคโนโลยีในแต่ละสาขาที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้เจริญเติบโตและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ให้เป็นโลกสีเขียว โลกแห่งสันติภาพ
สิ่งที่ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยทุกสาขาวิชาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย จะได้รับจากการกระชับความสัมพันธ์ในทุกเวทีการประชุม ในทุกกรอบความร่วมมือในครั้งนี้ ก็ถือว่าเป็นโอกาสใหม่ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความมั่นคงด้วย ของประชาชนในภูมิภาค ในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานคุณภาพสูง รวมทั้งการสนับสนุนการค้าการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน เพื่อจะเชื่อมต่อธุรกิจท้องถิ่น โอทอป เอสเอ็มอี Start-up ให้เข้าสู่ระบบห่วงโซ่การผลิตในระดับภูมิภาคและระดับโลก สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 และการบริหารราชการแผ่นดินของไทยในเชิงบูรณาการ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะสอดคล้องกับ SCG 2030 ของสหประชาชาติ ให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับความสามารถในการรับมือกับประเด็นท้าทายต่างๆ ในอนาคตด้วย
สุดท้ายนี้ รัฐบาลจะจัดให้มีการแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลครบรอบ 2 ปี โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ รายละเอียดต่างๆ ได้รวบรวมเป็นหนังสือสำหรับเผยแพร่ แจกจ่าย พี่น้องสื่อมวลชน ซึ่งในวันนั้นผมและรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 6 ท่าน จะชี้แจงสรุปนโยบาย แนวทางดำเนินงานของรัฐบาล ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละปัญหาที่สำคัญๆ ของประเทศ ที่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนอย่างไร เริ่มต้น กำลังทำ และต้องทำต่อไป มีความแตกต่างจากอดีตอย่างไร ที่ผ่านมา และผลความคืบหน้าในการดำเนินการนั้นเป็นอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการวางรากฐานการปฏิรูปประเทศไปด้วย มีการเดินหน้าประเทศไปสู่อนาคตให้กับลูกหลานของเราอย่างไร ฉะนั้นก็อยากให้รับฟังนะครับ มีอะไรก็สอบถามเพิ่มเติมในภายหลัง
ได้คัดเลือกผลงานหลักๆ เตรียมนำเสนอในรายการเดินหน้าประเทศไทยด้วย เวลา 18.00 น. หลังเคารพธงชาติ ขอเวลาหน่อยนะครับ ทุกวัน เว้นเย็นวันศุกร์ ก็ขอให้พี่น้องประชาชนสามารถติดตามรายการย้อนหลังจากสื่อออนไลน์ หรือเว็บไซต์ของรัฐบาลด้วย หากพี่น้องประชาชนเห็นด้วยกับผมว่าเราต้องร่วมมือกัน ความเหน็ดเหนื่อยนั้น เหนื่อยมากนัก พัก มันก็หายไป แต่เราจะพักอย่างไรล่ะ พักมาก พักน้อย เพราะว่าปัญหาเราเยอะ เพราะงั้นเวลาในการพักผ่อนมันอาจจะน้อย ไม่เป็นไรหรอกครับ ถ้าช่วยกัน ก็เป็นกำลังใจให้กันและกัน ทำให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลาว่างที่มีอยู่ให้มีคุณค่า เมื่อว่างเว้นจากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ก็คิดว่าอาจจะไปดูละครกันบ้าง ไปเที่ยวพักผ่อนกันบ้าง ถ้าเวลาพักกาย ก็ดูผลงานรัฐ อย่าดูให้มันเหนื่อย ดูว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เรามีส่วนตรงไหน จะช่วยรัฐบาลได้อย่างไร ไม่ใช่ดูแล้วโต้แย้งทุกเรื่อง บางทีมันก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกันนะ ผมก็พยายามทำให้นะ
อ่านหนังสือบ้างก็แล้วกันนะ หนังสือทุกอย่างเป็นประโยชน์ คนเราจะเรียนรู้อะไรในโลกใบนี้ก็ด้วยการอ่านหนังสือ อ่านแล้วก็คิดไปด้วย อ่านที่มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็แล้วแต่ท่าน มันน่าจะเป็นแนวทางที่ดี ก็ขอเชิญชวนทุกท่านได้แบ่งสรรเวลาในการเสพสื่ออย่างสมดุล
ผมไปต่างประเทศมา โดยเฉพาะประเทศอาเซียน ทุกประเทศดูละครไทย ดูข่าวไทยอะไรทั้งหมด เพราะฉะนั้นเสนออะไรออกไป เสนอให้ดีนะครับ มันจะเป็นสิ่งที่บางครั้งก็เอาเรื่องที่มันไม่ใช่ ออกไปเสนอ อย่างนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็คงจะชมแต่บันเทิง ไม่สนสารคดีเลย ก็คงเป็นไปไม่ได้อีก เพราะว่าบางอย่างนั้นเป็นข่าวสารจากรัฐบาล ซึ่งไม่เคยมีรัฐบาลไหนทำและพูดแจ้งให้ประชาชนทราบได้เท่านี้ เพราะเราต้องการสื่อสารกับพี่น้องประชาชนโดยตรง ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน อย่าไปฟังคำบิดเบือน และให้เกิดความร่วมมือกันเพื่อประเทศชาติและลูกหลานของเราในอนาคต และผมก็เชื่อว่าพี่น้องประชาชนคนไทยก็คงไม่อยากให้ลูกหลานของเราต้องมาเหน็ดเหนื่อยเหมือนเราในทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นการรับรู้ รับฟัง การดำเนินงานของรัฐ ก็จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ตามแนวทางประชารัฐ ในการแสวงหาความร่วมมือ และความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตามช่องทางที่เหมาะสม ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
สำหรับผลงานวิจัยนี้ เกิดจากการศึกษาการกลไกทางธรรมชาติ 2 ประการ คือ การกักเก็บน้ำและรักษาความชื้นของสับปะรดสี ประกอบด้วยการสังเกตคุณสมบัติเฉพาะ ของแผ่นสังกะสีเคลือบอะลูมิเนียมมุงหลังคาบ้านที่มีความจุความร้อนน้อย ในช่วงเวลากลางคืนเมื่อไอน้ำในอากาศมากระทบจึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ง่าย จนนำมาสู่การประยุกต์ เป็นต้นแบบสร้างอุปกรณ์ในการกักเก็บน้ำเลียนแบบสับปะรดสี โดยประดิษฐ์จากแผ่นอะลูมิเนียม นับเป็นนวัตกรรมใหม่ สามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรได้ โดยโมเดลจากการวิจัยนี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้แม้ในสภาวะแห้งแล้ง จากการนำชุดอุปกรณ์นี้ ที่มีราคาต้นทุนเพียงชุดละ 25 บาท ไปใช้งานจริง ติดตั้งบนต้นยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่าสามารถรักษาความชื้นในดินได้ มากกว่าปกติร้อยละ 17 ประหยัดการรดน้ำลงกว่าปกติ ร้อยละ 10 ให้ผลผลิตสูงขึ้น ร้อยละ 57 และคืนทุน ภายใน 6 วัน ผมคิดว่านวัตกรรมนี้ เกิดจากการสังเกตและผลิตอย่างง่ายๆ เพราะฉะนั้นหากเยาวชนช่วยกันประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เหล่านี้ และให้ได้รับการพัฒนาด้วยหลักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่เหมาะสม มีการสนับสนุนสู่การผลิต มีการใช้ ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ ยิ่งๆ ขึ้นไป ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ พิจารณาต่อยอดต่อไป อย่างปล่อยทิ้งๆ ขว้างๆ น่าเสียดายครับ
ต่อไป จากการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ได้เห็นชอบให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) นับเป็นกลไกใหม่ ในแต่ละทุกกระทรวง มีหน้าที่ประสานงาน เร่งรัด กำกับดูแลและติดตาม ให้รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้วย โดยต้องทำงานประสานสอดคล้องกับ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช. ป.ป.ท. สตง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายนะครับ โดยรัฐบาลนี้ ถือว่าการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นวาระแห่งชาติ การดำเนินการทุกอย่างต้องมิใช่เป็นเพียงแนวนโนบาย หรือเป็นแผนในกระดาษ แต่ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมในทุกระดับ และมีประสิทธิภาพ เราได้ตรวจสอบพบว่าใน 3 ปีที่ผ่านมา ปี 2556 - 2558 ปัญหาการทุจริต พบความเสียหายในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 200 เรื่อง คิดมูลค่าความเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท วันนี้รัฐบาลนี้ทำให้สถานการณ์การทุจริตลดลงอย่างชัดเจนตามผลสำรวจของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน CPI เกือบ 180 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2556 - 2558 อันดับของประเทศไทยดีขึ้น ทุก ๆ ปี อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้และ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ เราอยู่อันดับที่ 102 ปัจจุบันเราอยู่อันดับที่ 76 ดีขึ้น เกือบ 30 อันดับ เป้าหมายสำคัญในการปราบปรามการทุจริตของ รัฐบาลคือคนโกงรายเก่าจะต้องหมดไป คนโกงรายใหม่ต้องไม่เกิด และไม่เปิดโอกาสให้มีการโกงในทุกวงการ เพราะเราต้องทำงานเชิงรุก ช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกันตั้งแต่ต้นทาง โดยใช้กฎหมาย ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบจำนวน 258 ราย ได้มีการดำเนินการทางวินัยของต้นสังกัดแล้วเสร็จจำนวน 62 ราย มีผลทางวินัย ไล่ออก 8 ราย พ้นจากตำแหน่ง 25 ราย ที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานด้านปราบปรามทุจริตเพื่อความรอบคอบและรัดกุม เป็นไปตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ผมก็ได้มีความห่วงใยเจ้าหน้าที่ระดับผู้น้อยปฏิบัติการ ซึ่งบางทีไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือไม่ได้รู้เห็นกับการทุจริต อาจจะต้องทำงานตามนโยบายตามคำสั่ง ไม่กล้าปฏิเสธ เนื่องจากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย หรือาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผมได้สั่งการในที่ประชุม คสช.ให้ไปพิจารณาหามาตรการ หรือกลไกที่เหมาะสม ในการที่จะให้ความเป็นธรรม ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับล่างเหล่านั้นด้วย ทั้งปัจจุบันและอนาคต เขาจะได้ไม่หวาดกลัวจนทำงานไม่ได้
ผมเห็นว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของประเทศนั้น เราจะต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบ และครบวงจร เช่น จากสภาวะแวดล้อมจากในปัจจุบัน ในโลกโลกาภิวิตน์ ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และสมัยใหม่ มันอาจจะเป็นดาบสองคม โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลายฝ่ายก็จ้องกระทำผิด สรรหาเครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่ที่มีราคาสูง ฝ่ายปราบปรามก็ต้องคอยปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งคนและเทคโนโลยี ซึ่งก็จำกัดด้วยงบประมาณอีกเช่นกัน ดังนั้นกลไกที่มีศักยภาพก็คือประชาชนทุกคนที่เป็นเจ้าของประเทศ ต้องเป็นหูเป็นตา ร่วมมือกัน ช่วยกันเฝ้าระวัง แต่ก็ต้องรู้กฎหมายด้วย รู้ขั้นตอนการทำงานของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ไม่งั้นก็ตีกันไปมา จนทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน
เรื่องต่อไปคือปัจจัยภายใน และภายนอก เรามีพื้นฐานที่ต่างกัน มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม คนอาจจะมีความไม่รู้จักพอเพียง ความโลภของมนุษย์ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ที่ไม่สมดุลกับความเจริญทางสังคม รายจ่าย รายได้ไม่สมดุลกัน เกิดเป็นสังคมบริโภคนิยม วัตถุนิยม และตามมาด้วยการแย่งชิงทรัพยากร ไม่เกื้อกูล แบ่งปันกัน ก็จะเป็นโลกแห่งการแข่งขันเสรีกันอย่างที่ทั้งโลกเขาเป็นกันอยู่ในเวลานี้ คือประชาธิปไตยอย่างเสรีของตะวันตก หรือของสากล ในอดีตนั้น สังคมไทยเน้นคุณธรรม จริยธรรม แต่ในปัจจุบันนั้นเรากลับให้ความสำคัญน้อยลง เป็นไปตามกลไกของโลกใบนี้ที่เปลี่ยนแปลงไป เรากลับมาที่เดิมด้วย
เรื่องต่อไปคือ การแก้ปัญหาทุกเรื่องนั้นต้องเริ่มต้นจากจิตใจ จิตสำนึกของแต่ละคน ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม ประเทศชาติ เป็นโอกาสและการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมและเป็นการสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวาง ให้ความสำคัญกับการศึกษาทั้งในระบบ ทั้งจากการเรียนรู้จากสังคม ชุมชน และให้มีการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ
สรุป สาระสำคัญก็คือ เราต้องแก้เรื่องนี้ด้วยจิตใจ ด้วยค่านิยม คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ทำอย่างไรมันจะง่าย เรื่องเหล่านี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันต้องเกิดจากใจของทุกคน จากองค์กร เพราะงั้นเราจะทำยังไงให้มันง่ายที่จะปลูกฝัง ปลุกเร้าแรงกระตุ้น และไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเรื่องอื่นๆ เข้าใจหลักการและเหตุผล หลายคนต้องการให้ใช้กฎหมายอย่างรุนแรง บางทีใช้กฎหมายอย่างเดียวมันก็ไม่สำเร็จ เพราะมันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ทำยังไงคนไม่ดีจะทำให้เป็นคนดี ดีน้อยก็เป็นดีมาก ทำได้ยังไง บางคนทุจริตเพราะคิดว่าจำเป็น เป็นหน้าตาในสังคม เป็นความต้องการของครอบครัว บางคนทุจริตเพราะไม่รู้จักความพอเพียง รวยแล้วรวยอีก โดยอ้างความจำเป็นในการเลี้ยงตนเอง หรือครอบครัว บางคนทุจริตด้วยเจตนา ไม่รู้จักเพียงพอ เราต้องไปพิจารณาว่าเราจะมีมาตรการอย่างไรที่เหมาะสม ที่จะตอบโจทย์เหล่านี้ได้ เพราะมันมีเป้าหมายหลายกลุ่มด้วยกัน สื่อโซเชียลฯยุคใหม่ต้องหันกลับมาดูสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เสนอแต่เรื่องของการลงโทษ คงต้องมาสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึก อันนี้เป็นหน้าที่ของสื่อที่ต้องช่วยผมอยู่แล้ว
ในระหว่างวันที่ 4 และ 5 กันยายน ที่ผ่านมานั้น ผมได้เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำจี 20 ซัมมิท (G20 Summit) ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะประธานกลุ่ม จี 77 ตามคำเชิญของผู้นำจีน ก็เป็นครั้งแรกที่ประธานกลุ่มจี 77 ได้รับเชิญการประชุมดังกล่าว ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในฐานะผู้สร้างสะพานเชื่อมระหว่างสมาชิกจี 77 134 ประเทศ และ จี 20 โดยเฉพาะประเด็นความสนใจของประชาคมระหว่างประเทศ ที่มีต่อการเมืองเศรษฐกิจ และวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่รัฐบาลได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารประเทศ ในทุกระดับ ภายใต้แนวทางการส่งเสริมการระเบิดจากข้างใน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความต้องการของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งความเชื่อมั่น เชื่อว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของ 134 ประเทศ แล้วก็เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนด้วย
ที่ผ่านมา เวทีการประชุมผู้นำ G20 เน้นการหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่มีขนาดเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 90 ของเศรษฐกิจโลก และมีจำนวนประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของโลกอย่างไรก็ตาม โลกใบนี้เป็นของมนุษยชาติทุกคน การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากโลกยังคงเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในประเทศ และแต่ละประเทศด้วยกัน จะเกิดช่องว่างระยะห่าง และนับวันจะขยายใหญ่ขึ้น จนนำไปสู่ปัญหาระดับโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบกับทุกประเทศอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องร่วมมือกันรับผิดชอบ ดังนั้นหัวข้อการหารือในปีนี้ก็คือ การประสานนโยบาย และแนวทางการพัฒนาใหม่ๆ เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว กับประเทศกำลังพัฒนา โดยการสร้างหุ้นส่วนระดับโลก เพื่อจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน และครอบคลุมไปพร้อมๆ กัน ผมก็เห็นว่าสอดคล้องกับแนวนโยบายของไทย โดยเฉพาะในฐานะประธาน G77 ที่พยายามผลักดันให้ทุกฝ่ายได้ผนึกกำลังกัน เพื่อสร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เดินหน้าเคียงบ่าเคียงไหล่ซึ่งกันและกัน เหมือนเพื่อน เหมือนพี่ เหมือนน้อง เหมือนญาติ ตามศักยภาพของแต่ละประเทศ และตามความสมัครใจในการเผชิญกับความท้าทายในหลากมิติ เราจะต้องเอาชนะกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราอาจจะต้องกล้าคิดนอกกรอบ แต่ก็ต้องนำกลับมาเข้าสู่กฎกติกา แต่ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆ ก้าวข้ามเส้นแบ่งในรูปแบบเดิมๆ ให้สู่ความเป็นยานยนต์แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ในแนวทางการพัฒนาใหม่ๆ อันประกอบด้วย การให้โอกาสใหม่ เปิดทางเลือก ไม่ปิดกั้นประเทศกำลังพัฒนาทั้งระดับนโยบาย และความร่วมมือ การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจากภายใน โดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไปพร้อมกับการส่งเสริม SMEs และStart-up อันเป็นกลจักรใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก เชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าโลก และการสนับสนุนบทบาททุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ตามกลไกประชารัฐของรัฐบาลไทย เพื่อให้บรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างเข้มแข็งและสมดุล ซึ่งไทยพร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศอื่นๆ ด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะเจริญเติบโตแข็งแกร่งไปด้วยกัน สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนซัมมิทครั้งที่ 28 ครั้งที่ 29 ซึ่งมีการประชุมพร้อมกันครั้งเดียวกัน และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งหมด 15 การประชุม ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2559 นั้น มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการประชุมผู้นำจี 20 นอกจากกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้าการลงทุน รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว เวทีนี้อาเซียนและประเทศพันธมิตรเน้นความมีพลวัตที่จะต้องดำเนินการสร้างความร่วมมือใน 3 ด้าน ในการนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม อันได้แก่ การเสริมสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งที่ควรได้รับการดูแล และประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเฉพาะการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การสร้างความมั่นคงที่แข็งแกร่ง เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนทุกวัยอย่างสมดุล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในประชาคมอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างความเชื่อมโยง สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ละเลยการรักษาความมั่นคง และเสถียรภาพภายในภูมิภาค โดยการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนอย่างราบรื่น ทั้งนี้อาเซียนและประชาคมโลกจำเป็นต้องปรับตัวเข้าหากัน มีพลวัฒน์ มีเอกภาพ และเป็นปึกแผ่น ร่วมสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคด้วย ให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ การลักลอบค้ามนุษย์และยาเสพติด รวมทั้งปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ซึ่งเราไม่อาจหลีกเลี่ยง หรือแบ่งแยกความรับผิดชอบได้ เนื่องจากทุกประเทศจะต้องได้รับผลกระทบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เราก็ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้ไว้เนื้อเชื่อใจกัน ดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ในทุกกิจกรรม เราควรเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ให้ได้รับผลประโยชน์ มีส่วนแบ่งร่วมกันอย่างเท่าเทียม ไม่ควรจะแข่งขันกันมากนัก แต่ควรจะเรียนรู้ แบ่งปันแนวปฏิบัติ ประสบการณ์ องค์ความรู้ เทคโนโลยีในแต่ละสาขาที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ เพื่อจะได้เจริญเติบโตและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ให้เป็นโลกสีเขียว โลกแห่งสันติภาพ
สิ่งที่ประเทศไทยและประชาชนชาวไทยทุกสาขาวิชาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย จะได้รับจากการกระชับความสัมพันธ์ในทุกเวทีการประชุม ในทุกกรอบความร่วมมือในครั้งนี้ ก็ถือว่าเป็นโอกาสใหม่ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความมั่นคงด้วย ของประชาชนในภูมิภาค ในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานคุณภาพสูง รวมทั้งการสนับสนุนการค้าการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน เพื่อจะเชื่อมต่อธุรกิจท้องถิ่น โอทอป เอสเอ็มอี Start-up ให้เข้าสู่ระบบห่วงโซ่การผลิตในระดับภูมิภาคและระดับโลก สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 และการบริหารราชการแผ่นดินของไทยในเชิงบูรณาการ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะสอดคล้องกับ SCG 2030 ของสหประชาชาติ ให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับความสามารถในการรับมือกับประเด็นท้าทายต่างๆ ในอนาคตด้วย
สุดท้ายนี้ รัฐบาลจะจัดให้มีการแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลครบรอบ 2 ปี โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์ในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์ รายละเอียดต่างๆ ได้รวบรวมเป็นหนังสือสำหรับเผยแพร่ แจกจ่าย พี่น้องสื่อมวลชน ซึ่งในวันนั้นผมและรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 6 ท่าน จะชี้แจงสรุปนโยบาย แนวทางดำเนินงานของรัฐบาล ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละปัญหาที่สำคัญๆ ของประเทศ ที่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนอย่างไร เริ่มต้น กำลังทำ และต้องทำต่อไป มีความแตกต่างจากอดีตอย่างไร ที่ผ่านมา และผลความคืบหน้าในการดำเนินการนั้นเป็นอย่างไร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการวางรากฐานการปฏิรูปประเทศไปด้วย มีการเดินหน้าประเทศไปสู่อนาคตให้กับลูกหลานของเราอย่างไร ฉะนั้นก็อยากให้รับฟังนะครับ มีอะไรก็สอบถามเพิ่มเติมในภายหลัง
ได้คัดเลือกผลงานหลักๆ เตรียมนำเสนอในรายการเดินหน้าประเทศไทยด้วย เวลา 18.00 น. หลังเคารพธงชาติ ขอเวลาหน่อยนะครับ ทุกวัน เว้นเย็นวันศุกร์ ก็ขอให้พี่น้องประชาชนสามารถติดตามรายการย้อนหลังจากสื่อออนไลน์ หรือเว็บไซต์ของรัฐบาลด้วย หากพี่น้องประชาชนเห็นด้วยกับผมว่าเราต้องร่วมมือกัน ความเหน็ดเหนื่อยนั้น เหนื่อยมากนัก พัก มันก็หายไป แต่เราจะพักอย่างไรล่ะ พักมาก พักน้อย เพราะว่าปัญหาเราเยอะ เพราะงั้นเวลาในการพักผ่อนมันอาจจะน้อย ไม่เป็นไรหรอกครับ ถ้าช่วยกัน ก็เป็นกำลังใจให้กันและกัน ทำให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลาว่างที่มีอยู่ให้มีคุณค่า เมื่อว่างเว้นจากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ก็คิดว่าอาจจะไปดูละครกันบ้าง ไปเที่ยวพักผ่อนกันบ้าง ถ้าเวลาพักกาย ก็ดูผลงานรัฐ อย่าดูให้มันเหนื่อย ดูว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เรามีส่วนตรงไหน จะช่วยรัฐบาลได้อย่างไร ไม่ใช่ดูแล้วโต้แย้งทุกเรื่อง บางทีมันก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกันนะ ผมก็พยายามทำให้นะ
อ่านหนังสือบ้างก็แล้วกันนะ หนังสือทุกอย่างเป็นประโยชน์ คนเราจะเรียนรู้อะไรในโลกใบนี้ก็ด้วยการอ่านหนังสือ อ่านแล้วก็คิดไปด้วย อ่านที่มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็แล้วแต่ท่าน มันน่าจะเป็นแนวทางที่ดี ก็ขอเชิญชวนทุกท่านได้แบ่งสรรเวลาในการเสพสื่ออย่างสมดุล
ผมไปต่างประเทศมา โดยเฉพาะประเทศอาเซียน ทุกประเทศดูละครไทย ดูข่าวไทยอะไรทั้งหมด เพราะฉะนั้นเสนออะไรออกไป เสนอให้ดีนะครับ มันจะเป็นสิ่งที่บางครั้งก็เอาเรื่องที่มันไม่ใช่ ออกไปเสนอ อย่างนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็คงจะชมแต่บันเทิง ไม่สนสารคดีเลย ก็คงเป็นไปไม่ได้อีก เพราะว่าบางอย่างนั้นเป็นข่าวสารจากรัฐบาล ซึ่งไม่เคยมีรัฐบาลไหนทำและพูดแจ้งให้ประชาชนทราบได้เท่านี้ เพราะเราต้องการสื่อสารกับพี่น้องประชาชนโดยตรง ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน อย่าไปฟังคำบิดเบือน และให้เกิดความร่วมมือกันเพื่อประเทศชาติและลูกหลานของเราในอนาคต และผมก็เชื่อว่าพี่น้องประชาชนคนไทยก็คงไม่อยากให้ลูกหลานของเราต้องมาเหน็ดเหนื่อยเหมือนเราในทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นการรับรู้ รับฟัง การดำเนินงานของรัฐ ก็จะเป็นสะพานเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน ตามแนวทางประชารัฐ ในการแสวงหาความร่วมมือ และความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตามช่องทางที่เหมาะสม ขอบคุณครับ สวัสดีครับ