นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่น ทำให้มีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งจากการปล่อยน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ อ.เสนา รวม 5 ตำบล ได้แก่ ต.บ้านกระทุ่ม ในพื้นที่หมู่ที่ 1 – 9 ต.หัวเวียง หมู่ที่ 3 - 8 และหมู่ที่ 10 - 12 ต.รางจระเข้ หมู่ที่ 5 – 7 ต.สามกอ หมู่ที่ 1 ต.บ้านโพธิ์ หมู่ที่ 6 - 7 ต.บ้านแพน หมู่ที่ 1 ประชาชนได้รับผลกระทบ 298 หลังคาเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงแล้ว
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมสรรพกำลัง และทรัพยากรเร่งสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสถานการณ์น้ำกับสำนักงานชลประทานที่ 12 คาดว่าสถานการณ์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ถึงบริเวณ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล และ ต.กระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสาน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย แจ้งเตือนประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการร้านค้า ที่อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เตรียมการเฝ้าระวังและรับมือ ภาวะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อาจเอ่อล้นตลิ่ง โดยติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด จัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม รวมถึงเตรียมพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ และวัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติการช่วยเหลือและอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนวางกระสอบทรายเป็น แนวคันกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ กรณีระดับน้ำเพิ่มสูงจนถึงจุดวิกฤติ ให้ดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์ฯ เขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 76 จังหวัด และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขา 30 สาขาใน 16 จังหวัด หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมสรรพกำลัง และทรัพยากรเร่งสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสถานการณ์น้ำกับสำนักงานชลประทานที่ 12 คาดว่าสถานการณ์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ถึงบริเวณ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล และ ต.กระทุ่ม ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสาน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย แจ้งเตือนประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการร้านค้า ที่อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาให้เตรียมการเฝ้าระวังและรับมือ ภาวะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อาจเอ่อล้นตลิ่ง โดยติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำและประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด จัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม รวมถึงเตรียมพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ และวัสดุอุปกรณ์ ในการปฏิบัติการช่วยเหลือและอพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนวางกระสอบทรายเป็น แนวคันกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ กรณีระดับน้ำเพิ่มสูงจนถึงจุดวิกฤติ ให้ดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์ฯ เขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 76 จังหวัด และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขา 30 สาขาใน 16 จังหวัด หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป