น.พ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงกรณีข่าวการตรวจสอบผู้ป่วยไวรัสซิก้าเพิ่มอีก 2 ราย ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะปัจจุบันยังไม่มีรายงานเพิ่มเติมเข้ามาจากเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา และไม่ทราบว่าข่าวนี้มาจากที่ใด จึงอยากให้ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่อย่าได้วิตกกังวลกับกระแสข่าวไวรัสซิกาที่ไม่เป็นความจริง เพราะหากมีการตรวจพบรายใหม่จริง ทางสาธารณสุขมีกระบวนการรองรับอยู่แล้ว นั่นคือรีบแจ้งให้กับทางผู้ว่าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ พร้อมจะจัดแถลงข่าวเพื่อกระจายข้อมูลให้รับทราบโดยทั่วกัน เบื้องต้นตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา มีการตรวจสอบผู้เข้าข่ายว่าจะมีเชื้อไวรัสซิกาแล้วราว 400 ราย และสามารถตรวจพบผู้ติดไวรัสซิกา 7 ราย ขณะที่อีก 2 รายล่าสุดซึ่งแถลงข่าวไปเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น พบว่าอาการหายเป็นปกติแล้ว จึงมีผู้ป่วยไวรัสซิกาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่สามารถตรวจพบได้ รวม 9 ราย
อย่างไรก็ตาม น.พ.ไพศาล กล่าวต่อว่า การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การกำจัดลูกน้ำและยุงลาย จึงขอให้ประชาชนถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ที่อยู่ในบ้านเรือน ที่ทำงาน ที่สาธารณะต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงเรือน ศาสนสถาน โรงธรรม โรงพยาบาล ตัดวงจรชีวิตของยุงลาย เพื่อให้การควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา รวมทั้งโรคไข้เลือดออก และสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสซิกา จะมีการแสดงอาการเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น เช่น หากมีผู้ติดเชื้อ 100 รายจะมีแสดงอาการเพียง 20 ราย และโอกาสตรวจสอบไวรัสซิก้าเพียง 1 ราย หรือไม่มีเลย ประกอบกับเชื้อไวรัสซิกานั้นมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก และยังไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทยที่ติดเชื้อไวรัสซิกาเสียชีวิตแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม น.พ.ไพศาล กล่าวต่อว่า การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การกำจัดลูกน้ำและยุงลาย จึงขอให้ประชาชนถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ที่อยู่ในบ้านเรือน ที่ทำงาน ที่สาธารณะต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงเรือน ศาสนสถาน โรงธรรม โรงพยาบาล ตัดวงจรชีวิตของยุงลาย เพื่อให้การควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา รวมทั้งโรคไข้เลือดออก และสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสซิกา จะมีการแสดงอาการเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น เช่น หากมีผู้ติดเชื้อ 100 รายจะมีแสดงอาการเพียง 20 ราย และโอกาสตรวจสอบไวรัสซิก้าเพียง 1 ราย หรือไม่มีเลย ประกอบกับเชื้อไวรัสซิกานั้นมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก และยังไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทยที่ติดเชื้อไวรัสซิกาเสียชีวิตแต่อย่างใด