การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ชี้แจงว่า พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ใช้บังคับมาเป็นเวลานานถึง 84 ปี บทบัญญัติจึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับการให้กู้ยืมเงินที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือการเรียกเอาประโยชน์อย่างอื่น ทำให้เกิดเครือข่ายผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บดอกเบี้ยรายวันในอัตราที่สูง เกิดองค์กรอาชญากรรมที่อาศัยธุรกิจรูปแบบเช่าซื้อเงินด่วน กระจายไปตามที่สาธารณะ สื่อออนไลน์ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
ทั้งนี้ การตรากฎหมายดังกล่าว จะช่วยคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด เพราะกำหนดความผิดชัดเจน อัตราโทษสูงขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น และนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับควบคู่ด้วย โดยสาระสำคัญของร่างได้กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้น จากเดิมผู้เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเป็นกลุ่มกระบวนการที่เป็นลักษณะนายทุนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และหากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเพิ่มโทษเป็น 2 เท่า
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังกำหนดความหมายของคำว่า ดอกเบี้ย ให้รวมไปถึงค่าธรรมเนียมและค่าบริการเรียกเก็บด้วย เพราะที่ผ่านมา ธุรกิจประเภทบัตรเครดิต ไฟแนนซ์ หรือหนี้ในระบบ มักอ้างคำว่า ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย พร้อมกันนี้ ยังมีข้อยกเว้นกำหนดไม่ให้ใช้บังคับแก่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยขึ้น แต่ยังห่วงใยกับกลไกการดูแลสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล ว่าจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงหรือไม่ และจะมีองค์กรใดเข้าไปดูแล รวมถึงมาตรการคุ้มครองประชาชนจากกลุ่มอิทธิพล ขณะเดียวกัน ให้พิจารณาการนำกฎหมายฟอกเงินมาบังคับใช้เป็นยาแรงในกฎหมายฉบับนี้ ว่า อาจเกิดการกลั่นแกล้งกันได้ง่าย
จากนั้น ที่ประชุม สนช.มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ด้วยคะแนน 168 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ 18 คน กรอบเวลาทำงาน 60 วัน แปรญัตติ 15 วัน
ทั้งนี้ การตรากฎหมายดังกล่าว จะช่วยคุ้มครองสิทธิประชาชนไม่ให้ถูกละเมิด เพราะกำหนดความผิดชัดเจน อัตราโทษสูงขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดจะมีโทษสูงขึ้น และนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับควบคู่ด้วย โดยสาระสำคัญของร่างได้กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้น จากเดิมผู้เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 3 แสนบาท ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเป็นกลุ่มกระบวนการที่เป็นลักษณะนายทุนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และหากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเพิ่มโทษเป็น 2 เท่า
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังกำหนดความหมายของคำว่า ดอกเบี้ย ให้รวมไปถึงค่าธรรมเนียมและค่าบริการเรียกเก็บด้วย เพราะที่ผ่านมา ธุรกิจประเภทบัตรเครดิต ไฟแนนซ์ หรือหนี้ในระบบ มักอ้างคำว่า ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมาย พร้อมกันนี้ ยังมีข้อยกเว้นกำหนดไม่ให้ใช้บังคับแก่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่อภิปรายสนับสนุนการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยขึ้น แต่ยังห่วงใยกับกลไกการดูแลสิทธิของประชาชนในท้องถิ่นห่างไกล ว่าจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงหรือไม่ และจะมีองค์กรใดเข้าไปดูแล รวมถึงมาตรการคุ้มครองประชาชนจากกลุ่มอิทธิพล ขณะเดียวกัน ให้พิจารณาการนำกฎหมายฟอกเงินมาบังคับใช้เป็นยาแรงในกฎหมายฉบับนี้ ว่า อาจเกิดการกลั่นแกล้งกันได้ง่าย
จากนั้น ที่ประชุม สนช.มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่างพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ด้วยคะแนน 168 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ 18 คน กรอบเวลาทำงาน 60 วัน แปรญัตติ 15 วัน