น.พ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า สถานการณ์ความเสี่ยงโดยภาพรวมทั่วโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่มีโอกาสพบเชื้อไวรัสซิกาได้ทั่วไปในภูมิภาคที่มีพาหะนำโรค ปัจจุบันมี 70 ประเทศทั่วโลกที่พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งในบางประเทศก็มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเช่นกัน สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยครั้งแรก พ.ศ.2555 โดยในช่วง พ.ศ. 2555-2558 พบรายงานผู้ป่วยกระจายทุกภาคและมีผู้ป่วยยืนยันเฉลี่ยปีละ 5 ราย ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องส่งตัวอย่างไปตรวจที่ต่างประเทศ แต่ปัจจุบันประเทศไทยสามารถตรวจเองได้ และในปี 2559 นี้ ตั้งแต่ต้นปีมีรายงานผู้ป่วยใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาที่เหมาะสม ปัจจุบันมีเพียง 12 อำเภอ ใน 6 จังหวัด ที่มีรายงานผู้ป่วยและยังอยู่ในระยะควบคุมโรค 28 วัน และยังไม่พบผู้ป่วยได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยรายใหม่ ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ จันทบุรี เพชรบูรณ์ และบึงกาฬ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประสานความร่วมมือไปยังกระทรวงมหาดไทยให้สั่งการไปยังหน่วยงานในสังกัดในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว
น.พ.อำนวย กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้ ประเทศไทยยังมีรายงานพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา หลังดำเนินการควบคุมโรคอย่างเข้มข้นก็จะสามารถควบคุมโรคให้สงบลงได้ในเวลาที่เหมาะสม ยังไม่พบการระบาดที่ต่อเนื่องยาวนาน และยังไม่พบผู้ป่วยได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เป็นการสะท้อนถึงมาตรการเฝ้าระวัง ระบบตรวจจับที่ดี การวินิจฉัยโรค และการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งระบบของประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
น.พ.อำนวย กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้ ประเทศไทยยังมีรายงานพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา หลังดำเนินการควบคุมโรคอย่างเข้มข้นก็จะสามารถควบคุมโรคให้สงบลงได้ในเวลาที่เหมาะสม ยังไม่พบการระบาดที่ต่อเนื่องยาวนาน และยังไม่พบผู้ป่วยได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เป็นการสะท้อนถึงมาตรการเฝ้าระวัง ระบบตรวจจับที่ดี การวินิจฉัยโรค และการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งระบบของประเทศไทยนั้นได้รับการยอมรับจากนานาชาติ