สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดโครงการประชุมวิพากษ์ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านยานยนต์ไฟฟ้า(พ.ศ.2560-2564) โดยนายกฤษณ์ธวัชนพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดที่ห้องแกรนด์ฮอลล์ 2 ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการนักวิจัย ผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้อง กว่า 200 คน ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถ.วิภาวดีรังสิต
นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพึ่งพาน้ำมันดิบจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่งและมีแนวโน้มความต้องการในการใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลเสียที่เกิดจากใช้เชื้อเพลิงได้ก่อให้เกิดมลพิษต่างๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน วช. ในฐานะหน่วยงานกลางในการกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยการวิจัย และเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ จึงได้ให้ความสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเชิงวิชาการ
โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านยานยนต์ไฟฟ้า (พ.ศ.2560-2564) เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในสาขายานยนต์ไฟฟ้าให้มีความก้าวหน้า ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการศึกษาวิจัยและการปฏิบัติงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย อันนำไปสู่ข้อเสนอแนะและประเด็นหัวข้อวิจัยที่จำเป็นต่อไปในอนาคต
นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพึ่งพาน้ำมันดิบจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการคมนาคมขนส่งและมีแนวโน้มความต้องการในการใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลเสียที่เกิดจากใช้เชื้อเพลิงได้ก่อให้เกิดมลพิษต่างๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน วช. ในฐานะหน่วยงานกลางในการกำหนดทิศทางและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยการวิจัย และเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ จึงได้ให้ความสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวในเชิงวิชาการ
โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านยานยนต์ไฟฟ้า (พ.ศ.2560-2564) เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาคุณภาพงานวิจัยในสาขายานยนต์ไฟฟ้าให้มีความก้าวหน้า ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการศึกษาวิจัยและการปฏิบัติงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย อันนำไปสู่ข้อเสนอแนะและประเด็นหัวข้อวิจัยที่จำเป็นต่อไปในอนาคต