สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องกระแสข่าวนายกรัฐมนตรีคนนอก โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,167 คน สำรวจระหว่างวันที่ 22-26 ส.ค. 2559 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 76.69 ระบุเป็นเรื่องสำคัญที่คนสนใจและอยากติดตาม อยากรู้ว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้จริงหรือไม่ รองลงมาร้อยละ 70.61 ระบุเป็นวิธีการสรรหารูปแบบใหม่ ที่ทำให้พรรคการเมืองและนักการเมืองได้รับผลกระทบ และร้อยละ 67.52 ควรให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องพิจารณา
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีควรมาจากที่ใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.04 ระบุคนจากพรรคการเมือง หรือคนนอกก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หากเป็นคนดี มีความรู้ความสามารถก็ควรให้โอกาส อย่างไรก็ได้แต่ขอให้เป็นประชาธิปไตย
ขณะที่ร้อยละ 32.61 ระบุ ควรมาจากพรรคการเมืองที่เสนอชื่อเข้ามา เพราะเป็นวิธีสากล ประเทศไทยใช้วิธีนี้มานาน จะได้เป็นผู้แทนที่มาจากการพรรคการเมืองอย่างแท้จริง และร้อยละ 12.35 เห็นว่าควรมาจากคนนอกที่มีการเสนอชื่อเข้ามา เพราะเปิดโอกาสให้คนนอกที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากให้แต่ละพรรคเว้นวรรค สำหรับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้ อันดับ 1 ร้อยละ 83.74 คือ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม รักชาติบ้านเมืองและประชาชน รองลงมาร้อยละ 75.58 เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ ประวัติดี เป็นที่ยอมรับ และร้อยละ 64.95 เป็นผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ บุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี
ทั้งนี้เมื่อถามว่าประชาชนพึงพอใจสภาพการเมืองไทยขณะนี้มากน้อยเพียงใด ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.68 ระบุค่อนข้างพอใจ เพราะการเมืองไทยกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการตรวจสอบ ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 33.77 ไม่ค่อยพอใจ เพราะยังขาดความสามัคคี มีความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก ถูกปิดกั้น ควบคุมสิทธิเสรีภาพ มีร้อยละ 15.40 ไม่พอใจ เพราะยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ปัญหาการเมืองฝังรากลึกมานาน มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์ และร้อยละ 13.15 ระบุพอใจมาก เพราะรัฐบาลควบคุมดูแลเข้มงวด ไม่มีความวุ่นวาย ต่างชาติให้ความเชื่อมั่นมากขึ้น กำลังจะมีการเลือกตั้ง
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีควรมาจากที่ใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.04 ระบุคนจากพรรคการเมือง หรือคนนอกก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หากเป็นคนดี มีความรู้ความสามารถก็ควรให้โอกาส อย่างไรก็ได้แต่ขอให้เป็นประชาธิปไตย
ขณะที่ร้อยละ 32.61 ระบุ ควรมาจากพรรคการเมืองที่เสนอชื่อเข้ามา เพราะเป็นวิธีสากล ประเทศไทยใช้วิธีนี้มานาน จะได้เป็นผู้แทนที่มาจากการพรรคการเมืองอย่างแท้จริง และร้อยละ 12.35 เห็นว่าควรมาจากคนนอกที่มีการเสนอชื่อเข้ามา เพราะเปิดโอกาสให้คนนอกที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากให้แต่ละพรรคเว้นวรรค สำหรับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนอยากได้ อันดับ 1 ร้อยละ 83.74 คือ เป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม รักชาติบ้านเมืองและประชาชน รองลงมาร้อยละ 75.58 เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ ประวัติดี เป็นที่ยอมรับ และร้อยละ 64.95 เป็นผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ บุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ดี
ทั้งนี้เมื่อถามว่าประชาชนพึงพอใจสภาพการเมืองไทยขณะนี้มากน้อยเพียงใด ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.68 ระบุค่อนข้างพอใจ เพราะการเมืองไทยกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีการตรวจสอบ ปราบปรามทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 33.77 ไม่ค่อยพอใจ เพราะยังขาดความสามัคคี มีความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก ถูกปิดกั้น ควบคุมสิทธิเสรีภาพ มีร้อยละ 15.40 ไม่พอใจ เพราะยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ปัญหาการเมืองฝังรากลึกมานาน มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์ และร้อยละ 13.15 ระบุพอใจมาก เพราะรัฐบาลควบคุมดูแลเข้มงวด ไม่มีความวุ่นวาย ต่างชาติให้ความเชื่อมั่นมากขึ้น กำลังจะมีการเลือกตั้ง