xs
xsm
sm
md
lg

“สวนดุสิตโพล” เชื่อการเมืองหลังประชามติ “เหมือนเดิม” ห่วงนักการเมืองกระทบ-ขัดแย้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นการเมืองไทยหลังลงประชามติ พบว่าส่วนใหญ่เหมือนเดิม 55% เชื่อว่าดีขึ้น มีเพียงร้อยละ 31% ห่วงพรรคการเมือง และนักการเมืองได้รับผลกระทบ คนไม่เห็นด้วยออกมาเคลื่อนไหวให้ขัดแย้ง วุ่นวาย

วันนี้ (7 ส.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น. “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในหัวข้อ ความคิดเห็นของประชาชน ต่อการเมืองไทยหลังการลงประชามติ จำนวนทั้งสิ้น 1,279 คน สำรวจระหว่างวันที่ 1-6 สิงหาคม 2559 เมื่อถามว่าประชาชนคิดว่าการเมืองไทยหลังการลงประชามติจะเป็นอย่างไร พบว่า อันดับ 1 เหมือนเดิม 55.43% เพราะยังคงมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ และผลประโยชน์มีให้เห็นทุกยุคทุกสมัย ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ฯลฯ รองลงมาอันดับ 2 ดีขึ้น 31.75% เพราะได้มีการลงประชามติ ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นอีกขึ้นตอนหนึ่งที่สำคัญก่อนจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ บ้านเมืองมีเป้าหมาย มีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น ฯลฯ ส่วนอันดับ 3 แย่ลง 12.82% เพราะผลที่ออกมาอาจสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วย อาจเกิดการแบ่งขั้วแบ่งฝ่าย มีการออกมาเรียกร้องหรือคัดค้าน สถานการณ์อาจรุนแรงมากขึ้น ฯลฯ

เมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่าการเมืองไทยหลังการลงประชามติ ถ้าผ่านจะเป็นอย่างไร พบว่า อันดับ 1 พรรคการเมืองและนักการเมือง ได้รับผลกระทบ 81.24% รองลงมาอันดับ 2 มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะได้มีการเลือกตั้ง 79.52% อันดับ 3 ผู้ที่ไม่เห็นด้วยออกมาเคลื่อนไหว เกิดความขัดแย้ง วุ่นวาย 77.01% อันดับ 4 สถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น 66.93% และอันดับ 5 บ้านเมืองจะได้เดินหน้า พัฒนาต่อไปได้ 64.74%

เมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่าการเมืองไทยหลังการลงประชามติ ถ้าไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร พบว่า อันดับ 1 ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง 84.05% รองลงมาอันดับ 2 อาจมีความขัดแย้ง มีการเคลื่อนไหว คัดค้าน จากผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย 70.91% อันดับ 3 อยู่ภายใต้การดูแลของ คสช. และรัฐบาลเหมือนเดิม 68.80% อันดับ 4 รัฐบาลต้องทบทวน หาแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 67.63% และอันดับ 5 ต้องมีการชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชน 57.70%


กำลังโหลดความคิดเห็น