นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม ออกเอกสารชี้แจงว่า ภายหลังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง นัดพร้อมในวันนี้เพื่อฟังผลการทำกิจกรรมบริการสังคมในคดีที่หญิงสาวอดีตเยาวชนอายุ 17 ปี ก่อเหตุขับรถเฉี่ยวชนรถตู้บนทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย ซึ่งศาลเยาวชนฯมีคำสั่งให้จำเลยไปทำกิจกรรมบริการสังคมใหม่ให้ครบถ้วนเวลา 138 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 จำเลยพร้อมผู้ปกครองได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานบริการสังคมโดยกำหนดทำงานบริการสังคมกับหน่วยงานภาคีที่โรงพยาบาลไทรน้อย จ.นนทบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายนเป็นต้นไป วันละ 6 ชั่วโมงต่อเนื่องเป็นเวลาทั้งหมด 138 ชั่วโมง ด้วยการทำงานในแผนกช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ งานในห้องฉุกเฉินที่เป็นการช่วยเฉพาะงานเบื้องต้น การออกพื้นที่ด้วยการนั่งรถฉุกเฉินไปรับผู้ป่วยนอก ซึ่งมีพนักงานคุมประพฤติไปตรวจสอบดูแลอยู่เป็นประจำทุกวัน ต่อมาโรงพยาบาลไทรน้อยได้มีหนังสือแจ้งผลการทำงานบริการสังคมกลับมา ซึ่งได้ให้ทนายโจทก์ร่วมที่ 1-8 ทราบรายงานดังกล่าวแล้วแถลงไม่คัดค้าน
ศาลได้พิเคราะห์รายงานและถ้อยแถลงของจำเลยและเจ้าพนักงานคุมประพฤติ ประกอบคำเบิกความของผู้อำนวยการกองกิจการชุมชนและบริการสังคม กรมคุมประพฤติแล้ว จึงเห็นว่า จำเลยได้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติและทำกิจกรรมบริการสังคมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จนครบถ้วนแล้ว
ทั้งนี้เมื่อจำเลยบริการสังคมตามคำสั่งศาลแล้ว ถือว่าการคุมประพฤติจำเลยเป็นที่สิ้นสุด
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 จำเลยพร้อมผู้ปกครองได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานบริการสังคมโดยกำหนดทำงานบริการสังคมกับหน่วยงานภาคีที่โรงพยาบาลไทรน้อย จ.นนทบุรี เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายนเป็นต้นไป วันละ 6 ชั่วโมงต่อเนื่องเป็นเวลาทั้งหมด 138 ชั่วโมง ด้วยการทำงานในแผนกช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่มีญาติ งานในห้องฉุกเฉินที่เป็นการช่วยเฉพาะงานเบื้องต้น การออกพื้นที่ด้วยการนั่งรถฉุกเฉินไปรับผู้ป่วยนอก ซึ่งมีพนักงานคุมประพฤติไปตรวจสอบดูแลอยู่เป็นประจำทุกวัน ต่อมาโรงพยาบาลไทรน้อยได้มีหนังสือแจ้งผลการทำงานบริการสังคมกลับมา ซึ่งได้ให้ทนายโจทก์ร่วมที่ 1-8 ทราบรายงานดังกล่าวแล้วแถลงไม่คัดค้าน
ศาลได้พิเคราะห์รายงานและถ้อยแถลงของจำเลยและเจ้าพนักงานคุมประพฤติ ประกอบคำเบิกความของผู้อำนวยการกองกิจการชุมชนและบริการสังคม กรมคุมประพฤติแล้ว จึงเห็นว่า จำเลยได้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติและทำกิจกรรมบริการสังคมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จนครบถ้วนแล้ว
ทั้งนี้เมื่อจำเลยบริการสังคมตามคำสั่งศาลแล้ว ถือว่าการคุมประพฤติจำเลยเป็นที่สิ้นสุด