นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา พลิกโฉม SFIs กับภารกิจที่ตอบโจทย์ และตรงจุดเพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องว่า ปีที่ผ่านมา ธปท.ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ซึ่ง ธปท.เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาแก้ไขกฎเกณฑ์ของ SFIs จำนวน 24 เรื่อง ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังเห็นชอบมาแล้ว 1 เรื่อง คือ ให้ SFIs เปิดเผยข้อมูลทางการเงิน เช่น สถานะทางการเงิน ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จนถึงขณะนี้มี SFIs จำนวน 2 แห่ง คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ที่กำลังประสบปัญหาขาดทุน และมีต้นทุนการปฏิบัติงานสูง ซึ่งอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ส่วน SFIs ในภาพรวมทั้งระบบยังอยู่เกณฑ์ดี และมีเงินสำรองสูงกว่าเกณฑ์
ส่วนกรณีที่ SFIs บางแห่ง เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสินดำเนินการออกบัตรเครดิต ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจหลักนั้น สามารถทำได้เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะต้องแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเช่นกัน
นายวิรไท กล่าวว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความท้าทาย 3 ด้าน ได้แก่ ความผันผวนในระบบเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งเกิดขึ้นตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาและระยะต่อไปความผันผวนลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนมากขึ้น ความท้าทายที่ 2 คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินจะใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนในการปฏิบัติงาน แต่จะเกิดผู้ให้บริการรายใหม่อย่าง Fintech เข้ามาแข่งขันและเกิดการแย่งชิงบุคลากรในสภาวะที่แรงงานขาดแคลน และความท้าทายจากกฎกติกาใหม่ๆ โดยเฉพาะกฎกติกาเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินในการก่อการร้าย
ส่วนกรณีที่ SFIs บางแห่ง เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสินดำเนินการออกบัตรเครดิต ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจหลักนั้น สามารถทำได้เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะต้องแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์เพื่อให้มีรายได้เพิ่มเช่นกัน
นายวิรไท กล่าวว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความท้าทาย 3 ด้าน ได้แก่ ความผันผวนในระบบเศรษฐกิจการเงินโลก ซึ่งเกิดขึ้นตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาและระยะต่อไปความผันผวนลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนมากขึ้น ความท้าทายที่ 2 คือ การพัฒนาของเทคโนโลยีที่จะทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินจะใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนในการปฏิบัติงาน แต่จะเกิดผู้ให้บริการรายใหม่อย่าง Fintech เข้ามาแข่งขันและเกิดการแย่งชิงบุคลากรในสภาวะที่แรงงานขาดแคลน และความท้าทายจากกฎกติกาใหม่ๆ โดยเฉพาะกฎกติกาเกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินในการก่อการร้าย