น.พบุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปี 2559-2561 นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เพิ่มมาตรการตัดวงจร ยาเสพติด โดยสถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ ได้จัดทำโครงการบำบัดผู้เสพฝิ่นที่อยู่ในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาการปลูกฝิ่นซ้ำซากและหนาแน่นประมาณ 1,230 ไร่ ใน 126 หมู่บ้าน 7 อำเภอของ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก จำนวน 4,210 ครัวเรือน รวมทั้งหมด 21,563 คน ร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ตามโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน
น.พ.วรพงษ์ สำราญทิวาวัลย์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ เปิดเผยอีกว่าอำเภออมก๋อย เป็นพื้นที่ทุรกันดารมากและมีผู้เสพฝิ่นมากที่สุดประมาณ 4,500-5,000 ราย ในการบำบัดผู้เสพฝิ่นได้เน้นการบำบัดในชุมชน โดยตั้งศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในชุมชน (Drop In Center) ให้บริการกับผู้เสพและครอบครัว 7 แห่งทั้ง 5 อำเภอ เปิดคลินิกเมทาโดนให้บริการในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งและจัดบริการเชิงรุกโดยพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 100 คน ให้สามารถจ่ายยาเมทาโดนตามขนาดความรุนแรงของอาการติดยา และรับบริการใกล้บ้านที่สุด ส่งผลให้ผู้เสพฝิ่นเชื่อมั่นและศรัทธาบอกต่อกันปากต่อปาก เข้ารับบริการเพิ่มขึ้น
น.พ.วรพงษ์ สำราญทิวาวัลย์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ เปิดเผยอีกว่าอำเภออมก๋อย เป็นพื้นที่ทุรกันดารมากและมีผู้เสพฝิ่นมากที่สุดประมาณ 4,500-5,000 ราย ในการบำบัดผู้เสพฝิ่นได้เน้นการบำบัดในชุมชน โดยตั้งศูนย์ลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในชุมชน (Drop In Center) ให้บริการกับผู้เสพและครอบครัว 7 แห่งทั้ง 5 อำเภอ เปิดคลินิกเมทาโดนให้บริการในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งและจัดบริการเชิงรุกโดยพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 100 คน ให้สามารถจ่ายยาเมทาโดนตามขนาดความรุนแรงของอาการติดยา และรับบริการใกล้บ้านที่สุด ส่งผลให้ผู้เสพฝิ่นเชื่อมั่นและศรัทธาบอกต่อกันปากต่อปาก เข้ารับบริการเพิ่มขึ้น