น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมได้ทำการตรวจสอบนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ พบว่ามีนิติบุคคลที่มีมูลเหตุชัดเจนว่าเป็นธุรกิจร้างอยู่กว่า 10,701 ราย จากนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศจำนวน 635,024 ราย แบ่งกรณีไม่ส่งงบการเงินย้อนหลัง 3 ปีติดต่อกัน จำนวน 8,821 ราย และกรณีจดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ไม่มีผู้ชำระบัญชีทำการอยู่ จำนวน 1,880 ราย คาดว่าจะออกคำสั่งขีดชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทร้างออกจากทะเบียนได้ภายในเดือน ก.ย.2559 นี้
“นิติบุคคลกว่า 1 หมื่นรายนี้ สร้างความคลุมเครือให้กับธุรกิจไทย เพราะไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของนิติบุคคลว่ายังดำเนินการอยู่หรือไม่ อาจเกิดการหลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิดว่านิติบุคคลนั้น ยังดำเนินการอยู่ และส่งผลกระทบต่อการประเมินเศรษฐกิจของประเทศตามมา จึงต้องทำการปรับปรุงข้อมูลนิติบุคคลให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด” น.ส.ผ่องพรรณ ระบุ
อย่างไรก็ตาม การถอนทะเบียนร้างของนิติบุคคล แม้จะมีผลให้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล แต่ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นยังคงต้องมีอยู่ และสามารถเรียกบังคับ ได้เสมือนยังไม่ได้สิ้นสภาพนิติบุคคล และนิติบุคคลดังกล่าวอาจฟื้นคืนสู่ทะเบียนได้อีกครั้ง ถ้าผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียยื่นคำร้องต่อศาล หากได้รับผลระทบที่ไม่เป็นธรรมจากการที่นิติบุคคลนั้นถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน โดยศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะกลับคืนสู่ทะเบียนหรือไม่ โดยการยื่นคำร้องต้องกระทำภายใน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน
ทั้งนี้ ผู้ที่ประกอบธุรกิจและมีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินประจำปียื่นต่อกรมเพื่อแสดงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินธุรกิจประจำปี โดยถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบ เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และยังช่วยให้ภาครัฐสามารถนำตัวเลขงบการเงินไปใช้ประเมินวิเคราะห์ทิศทางของเศรษฐกิจไทยได้ด้วย
“นิติบุคคลกว่า 1 หมื่นรายนี้ สร้างความคลุมเครือให้กับธุรกิจไทย เพราะไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของนิติบุคคลว่ายังดำเนินการอยู่หรือไม่ อาจเกิดการหลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิดว่านิติบุคคลนั้น ยังดำเนินการอยู่ และส่งผลกระทบต่อการประเมินเศรษฐกิจของประเทศตามมา จึงต้องทำการปรับปรุงข้อมูลนิติบุคคลให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด” น.ส.ผ่องพรรณ ระบุ
อย่างไรก็ตาม การถอนทะเบียนร้างของนิติบุคคล แม้จะมีผลให้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล แต่ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นยังคงต้องมีอยู่ และสามารถเรียกบังคับ ได้เสมือนยังไม่ได้สิ้นสภาพนิติบุคคล และนิติบุคคลดังกล่าวอาจฟื้นคืนสู่ทะเบียนได้อีกครั้ง ถ้าผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียยื่นคำร้องต่อศาล หากได้รับผลระทบที่ไม่เป็นธรรมจากการที่นิติบุคคลนั้นถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน โดยศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะกลับคืนสู่ทะเบียนหรือไม่ โดยการยื่นคำร้องต้องกระทำภายใน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน
ทั้งนี้ ผู้ที่ประกอบธุรกิจและมีการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินประจำปียื่นต่อกรมเพื่อแสดงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินธุรกิจประจำปี โดยถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบ เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และยังช่วยให้ภาครัฐสามารถนำตัวเลขงบการเงินไปใช้ประเมินวิเคราะห์ทิศทางของเศรษฐกิจไทยได้ด้วย