นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมใยเหล็ก (ค.ส.ล.) และประตูระบายน้ำคลองลาดพร้าว คลองบางบัว คลองถนน คลองสอง และคลองบางซื่อ จากบริเวณเขื่อนเดิมอุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า - รามคำแหงไปทางประตูระบายน้ำ คลองสองสายใต้ ความยาว 22 กิโลเมตร เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ว่า จากการตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนช่วง 8 กิโลเมตรแรก ซึ่งมีแนวเขตชัดเจนสามารถก่อสร้างเขื่อนได้ โดยขณะนี้การก่อสร้างเขื่อนคืบหน้าไปกว่า 20 เปอร์เซ็นต์แล้ว
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเขื่อนยังมีอุปสรรคอยู่ 3 เรื่อง 1.เรื่องสถานที่ที่จะลำเลียงเสาเข็มลงไปตอก ขณะนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้ใช้พื้นที่ในการลำเลียงเสาเข็มได้ แต่การดำเนินการก่อสร้างต้องใช้ระยะเวลา กทม.มีความจำเป็นต้องขอเพิ่มระยะเวลา เพิ่มจุดและเพิ่มพื้นที่เพื่อลำเลียงเสาเข็มเพิ่มเติม ในการนี้ กทม.จะประสานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงขอความร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต่อไป
2.ในการตอกเสาเข็มต้องมีการเคลียร์พื้นที่แต่บางพื้นที่ติดขัด เนื่องจากมีระบบสาธารณูปโภค ท่อประปา เสาไฟฟ้าอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่จะตอกเสาเข็ม จึงต้องมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายก่อนการตอกเสาเข็ม ซึ่งต้องมีการวางแผนและระยะเวลาในการดำเนินการ โดยที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี
3.ชุมชนที่อยู่ในแนวสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักและเป็นอุปสรรคที่ กทม.แก้ไขลำบากหากดำเนินการโดยลำพัง แต่จากการที่ทางรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือและประสานงานกับชุมชน จนได้แนวทางให้ชุมชนจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น เพื่อเช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ สำหรับใช้ก่อสร้างที่พักอาศัยในบริเวณที่ใกล้กับสถานที่อยู่เดิม ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ผลักดันให้โครงการนี้เดินหน้าไปได้
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างเขื่อนยังมีอุปสรรคอยู่ 3 เรื่อง 1.เรื่องสถานที่ที่จะลำเลียงเสาเข็มลงไปตอก ขณะนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้ใช้พื้นที่ในการลำเลียงเสาเข็มได้ แต่การดำเนินการก่อสร้างต้องใช้ระยะเวลา กทม.มีความจำเป็นต้องขอเพิ่มระยะเวลา เพิ่มจุดและเพิ่มพื้นที่เพื่อลำเลียงเสาเข็มเพิ่มเติม ในการนี้ กทม.จะประสานกับหน่วยงานด้านความมั่นคงขอความร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต่อไป
2.ในการตอกเสาเข็มต้องมีการเคลียร์พื้นที่แต่บางพื้นที่ติดขัด เนื่องจากมีระบบสาธารณูปโภค ท่อประปา เสาไฟฟ้าอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่จะตอกเสาเข็ม จึงต้องมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายก่อนการตอกเสาเข็ม ซึ่งต้องมีการวางแผนและระยะเวลาในการดำเนินการ โดยที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี
3.ชุมชนที่อยู่ในแนวสร้างเขื่อน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักและเป็นอุปสรรคที่ กทม.แก้ไขลำบากหากดำเนินการโดยลำพัง แต่จากการที่ทางรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือและประสานงานกับชุมชน จนได้แนวทางให้ชุมชนจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น เพื่อเช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ สำหรับใช้ก่อสร้างที่พักอาศัยในบริเวณที่ใกล้กับสถานที่อยู่เดิม ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ผลักดันให้โครงการนี้เดินหน้าไปได้