นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงย้ำจุดยืนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญว่า แม้จะเป็นการแถลงในนามส่วนตัว แต่ก็ถือเป็นจุดยืนของพรรคด้วย เพราะมีหลายประเด็นในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญที่ยังไม่สมบูรณ์ และยืนยันว่าการแสดงจุดยืนครั้งนี้ไม่ใช่มติทางการเมือง และไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายที่เห็นต่างกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพยายามยกให้เห็นว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติประเทศจะมีทิศทางอย่างไร พรรคประชาธิปัตย์ยังคงสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ต่อไป หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน และขอเรียกร้องกลุ่มผู้เห็นต่างอย่านำผลการทำประชามติมาเล่นการเมือง หรือสร้างความวุ่นวาย
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนรัฐธรรมนูญปราบโกงฉบับนี้ แต่เห็นว่ายังมีช่องโหว่ที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นการอุทธรณ์คดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าข่ายกระทำผิดสามารถต่อสู่คดีได้ 2 ครั้ง โดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ และไม่ต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาด้วย ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550
อย่างไรก็ตาม เห็นกรณีนี้จึงไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่การอุทธรณ์จะต้องทำในศาลที่สูงกว่า ส่วนการตรวจสอบการทำหน้าที่ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา เห็นว่าประธานรัฐสภาเป็น ส.ส.พรรครัฐบาล ซึ่งอาจมีการใช้อำนาจต่อรองได้
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนรัฐธรรมนูญปราบโกงฉบับนี้ แต่เห็นว่ายังมีช่องโหว่ที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะประเด็นการอุทธรณ์คดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าข่ายกระทำผิดสามารถต่อสู่คดีได้ 2 ครั้ง โดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ และไม่ต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาด้วย ซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญปี 2550
อย่างไรก็ตาม เห็นกรณีนี้จึงไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่การอุทธรณ์จะต้องทำในศาลที่สูงกว่า ส่วนการตรวจสอบการทำหน้าที่ของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ยื่นเรื่องต่อประธานรัฐสภา เห็นว่าประธานรัฐสภาเป็น ส.ส.พรรครัฐบาล ซึ่งอาจมีการใช้อำนาจต่อรองได้