การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. วันนี้ (25 ก.ค.) มีร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ ประธาน สปท.ทำหน้าที่ประธาน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มี พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ เรื่อง การปฏิรูประบบงบประมาณและการคลังภาครัฐ ต่อจากการประชุม สปท.เมื่อวันอังคารที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอแผนปฎิรูป ประกอบด้วย การสร้างวินัยการคลัง การปฏิรูปกระบวนการงบประมาณ การจัดตั้งสถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภา และการคลังท้องถิ่น แบ่งการปฏิรูปเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกตั้งแต่กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 ให้ยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องรองรับ โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ และพระราชบัญญัติการเงินการคลังของรัฐ เป็นกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อกำหนดกรอบวินัยทางการเงินการคลังในทุกส่วน
ขณะที่สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จัดทำปฏิทินการจัดทำงบประมาณเชิงพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2561 ส่วนกระทรวงมหาดไทย จัดการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำร่องปรับกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้กระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงพื้นที่ จากนั้นในระยะที่ 2 เดือนมกราคม - ธันวาคม 2560 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รองรับการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2559 ภายใต้กระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงพื้นที่ ที่มุ่งให้มีฐานข้อมูลการคลัง และระบบประเมินผลที่ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมตรวจสอบได้
ทั้งนี้ การอภิปรายของสมาชิก สปท. ส่วนใหญ่ ได้เสนอให้มีระบบการประเมินผลงบประมาณที่ชัดเจนและสามารถให้ได้กับทุกหน่วยงาน รวมทั้งเสนอให้ส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการบูรณาการแผนระดับพื้นที่ร่วมกันเพื่อให้แผนงานมีประสิทธิภาพ
ขณะที่สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จัดทำปฏิทินการจัดทำงบประมาณเชิงพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2561 ส่วนกระทรวงมหาดไทย จัดการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำร่องปรับกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ภายใต้กระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงพื้นที่ จากนั้นในระยะที่ 2 เดือนมกราคม - ธันวาคม 2560 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รองรับการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2559 ภายใต้กระบวนการจัดทำงบประมาณเชิงพื้นที่ ที่มุ่งให้มีฐานข้อมูลการคลัง และระบบประเมินผลที่ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมตรวจสอบได้
ทั้งนี้ การอภิปรายของสมาชิก สปท. ส่วนใหญ่ ได้เสนอให้มีระบบการประเมินผลงบประมาณที่ชัดเจนและสามารถให้ได้กับทุกหน่วยงาน รวมทั้งเสนอให้ส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการบูรณาการแผนระดับพื้นที่ร่วมกันเพื่อให้แผนงานมีประสิทธิภาพ